
- เมื่อสงสัยหรือพบว่าตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์และวางแผนการดูแลขณะตั้งครรภ์
- ตามปกติการตั้งครรภ์ใช้เวลาทั้งสิ้น 280 วันหรือ 40 สัปดาห์ ซึ่งแพทย์จะแจ้งกําหนดคลอดให้คุณแม่ ทราบโดยคํานวณจากประจําเดือนครั้งสุดท้ายก่อนการตั้งครรภ์หรือจากการตรวจอัลตราซาวนด์
- โดยทั่วไปจะแบ่งระยะการตั้งครรภ์เป็น 3 ไตรมาส เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงร่างกาย การพัฒนาการของ ทารกและภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์มีความแตกต่างกันในแต่ละไตรมาส
- หากมีการใช้ยาบางชนิดก่อนหรือขณะตั้งครรภ์ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบและเมื่อไม่สบายหรือมีไข้ ควรปรึกษาแพทย์
- การรับประทานอาหาร ในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์ คุณแม่ควรจะทานอาหารครบทั้ง 5 หมู่ และ พยายามทานอาหารให้หลากหลาย ควรหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารที่ไม่ผ่านการประกอบอาหาร หรืออาหารสุกๆ ดิบๆ ปลาทะเลน้ําลึกบางชนิด เช่น ปลาฉลาม เนื่องจากอาจมีสารปรอทสะสมได้ เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หรือการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณมากๆ เช่น กาแฟ ชา และควรจํากัดการ ทานขนมหวาน ของคบเคี้ยว แต่ให้เลือกทานเป็นผลไม้รสไม่หวานมาก หรือนมไขมันต่ําในช่วงมื้อว่างแทน
- การเดินทางขณะตั้งครรภ์มีหลักการทั่วไป ดังนี้ การเดินทางไกลควรได้หยุดพักระหว่างการเดินทางทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อเปลี่ยนอิริยาบท โดยการลุกเดิน ช่วยให้การไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น ลดอาการบวมบริเวณขาและป้องกันการเหนื่อยล้า ของร่างกาย ไม่แนะนําให้เดินทางโดยใช้รถจักรยานยนต์ เพราะทําให้เกิดอุบัติเหตุง่าย หรือการเดินทางไปยังถิ่นทุรกันดาร อาจเกิดการกระทบกระเทือน อาจทําให้แท้ง หรือคลอดก่อนกําหนดได้
การเดินทางโดยรถยนต์
- ควรคาดเข็มขัดนิรภัย ดังรูป
- ใช้หมอนใบเล็กๆ หนุนบริเวณศีรษะและหลังจะช่วยทําให้คุณแม่รู้สึกสบายตัวขึ้น
- สวมใส่เสื้อผ้าที่ไม่รัดตึงจนเกินไป
- เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เท่าที่สามารถทําได้
- โปรแกรมการเดินทางในแต่ละวัน ไม่ควรมีมากเกินไป
- ควรหยุดพักเป็นระยะๆ ระหว่างเดินทาง
การเดินทางโดยเครื่องบิน
เพื่อความปลอดภัยคุณแม่ควรสอบถามสายการบินที่จะเดินทาง เนื่องจากบางสายการบินห้ามเดินทาง หากตั้งครรภ์เกิน 34 สัปดาห์ เพราะอาจเกิดการคลอดก่อนกําหนดบนเครื่องบินได้ และหลีกเลี่ยงการผ่าน เครื่องเอกซเรย์ ควรปรึกษาสูติแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพของคุณแม่และทารก ในครรภ์ก่อนการเดินทาง
- หญิงตั้งครรภ์หากมีภาวะดังต่อไปนี้ ควรงดการมีเพศสัมพันธ์ ตลอดการตั้งครรภ์ ได้แก่ มีประวัติแท้ง หลายครั้ง เคยคลอดก่อนกําหนด รกเกาะต่ํา มีเลือดออกไม่ทราบสาเหตุ
- ภาวะต่อไปนี้ควรงดออกกําลังกาย ได้แก่ แท้ง เจ็บครรภ์คลอดก่อนกําหนด รกเกาะต่ํา ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
- การทํางาน สามารถทํางานได้ตามปกติ ทั้งงานภายในบ้านและภายนอกบ้าน หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือยืนเดินนานๆ ถ้าทํางานในโรงงานอุตสาหกรรมควรหลีกเลี่ยงการทํางาน ที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี ที่อาจมีพิษต่อร่างกาย เช่น ทินเนอร์ เป็นต้น
- อิริยาบถที่เหมาะสม เพื่อช่วยลดอาการปวดเมื่อยต่างๆ ที่เกิดขึ้นขณะตั้งครรภ์ ได้แก่
- เวลายืน ให้ยืนตรง ยกไหล่และหมั่นฝึกเกร็งหน้าท้อง อย่าให้หลังแอ่น หรือพุงยื่น
- เวลานั่ง ให้ส่วนของก้นเข้ามาชิดกับพนักเก้าอี้ให้มากที่สุด
- เวลานอน ให้นั่งลงก่อน งอเข่า แล้วค่อยๆ นอนในท่าตะแคง เสร็จแล้วจึงพลิกเปลี่ยนเป็นท่านอนหงาย อย่านั่งแล้วก้มตัวนอนหงายทันที
- การเปลี่ยนจากท่านอนเป็นท่านั่ง จากท่านอนหงาย ให้เปลี่ยนพลิกเป็นท่านอนตะแคง งอเข่า ค่อยๆ ยันตัวขึ้นมาสู่ท่านั่ง
- การก้มหยิบของ ให้นั่งยองๆ ลงไปก่อน แล้วเอื้อมมือหยิบของที่ต้องการ เสร็จแล้ว ลุกขึ้น สู่ท่ายืน อย่าก้มหยิบของโดยการโค้งตัวลงไปหยิบ
น้ําหนักที่ควรเพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ พิจารณาตามดัชนีมวลกาย หรือ Body Mass Index (BMI) ก่อนตั้งครรภ์ โดยสามารถคํานวณ BMI จากค่าน้ําหนัก (กิโลกรัม) ก่อนตั้งครรภ์ หารด้วยค่าส่วนสูง (เมตร) ยกกําลังสอง
วัคซีนที่จําเป็นต้องได้รับระหว่างตั้งครรภ์ : ได้แก่ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนบาดทะยัก วัคซีนไวรัสตับอักเสบ โดยคุณแม่สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้จากแพทย์ผู้ให้การดูแล