
น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก การให้นมแม่ที่เหมาะสมและเพียงพอจะช่วยให้ลูกน้อยเจริญเติบโตและมีพัฒนาการที่สมวัย
สาเหตุใดบ้างที่ทำให้น้ำนมน้อย ?
น้ำนมน้อย อาจทำให้ทารกได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น
– ท่าอุ้มของคุณแม่ไม่ถูกต้อง คุณแม่ควรได้รับการประเมินท่าอุ้มและการดูดนมของทารกให้ถูกต้อง
– ความล่าช้าในการให้นมแม่หลังคลอด อาจเกิดจากแม่และลูกถูกแยกกันหลังคลอด เช่น หากทารกจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในห้องแยก หรือแม่ไม่สบายหลังคลอด
– ลูกแนบเต้านมไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากคุณแม่หัวนมแบนหรือหัวนมบอด ภาวะลิ้นติดในทารก ทารกง่วงนอนจากอาการตัวเหลือง เป็นต้น
– คุณแม่มีปัญหาสุขภาพ เช่น เต้านมอักเสบ เนื้อเยื่อรกค้าง หรือการสูญเสียเลือดมากหลังคลอด หรือมีภาวะเจ็บปวด วิตกกังวล เครียด
– คุณแม่รับประทานอาหารและน้ำ รวมถึงพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งมารดาควรพักผ่อนให้เพียงพอและดื่มน้ำ 2-3 ลิตรต่อวัน
– ทารกนอนนาน ไม่ได้ปลุกให้ตื่นมาดูดนมทุก 2-3 ชั่วโมง
– การให้นมแม่ตามกำหนดเวลา แทนที่จะให้ตามความต้องการของทารก
– การรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิดที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจน
– การงดให้นมแม่และให้นมอื่นเสริม
– การใช้จุกนมหรือแผ่นป้องกันหัวนมในระยะยาว
– การสูบบุหรี่ เป็นต้น
นอกจากนี้ โรคที่เกี่ยวข้องที่อาจส่งผลให้มีน้ำนมน้อย เช่น กลุ่มอาการรังไข่มีถุงน้ำหลายใบ โรคต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคเบาหวานและภาวะก่อนเป็นเบาหวาน การใช้ยาลดความดันโลหิต การใช้ยารักษาโรคหวัด เคยกินยาคุมกำเนิดหรือเคยมีภาวะมีบุตรยาก
การผ่าตัดเต้านมหรือหัวนมทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ทำได้ยาก หรือในผู้หญิงบางคนหน้าอกไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงวัยรุ่นหรือในช่วงการตั้งครรภ์ระยะแรก ทำให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ยากขึ้น

ทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยได้รับนมเพียงพอ ?
สัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกได้รับน้ำนมแม่เพียงพอ
– ผ้าอ้อมเปียก 6 ถึง 8 ชิ้นในระยะเวลา 24 ชั่วโมง นับรวมถึงผ้าอ้อมที่เปียกนิดหน่อยด้วย
– ตื่นมาร้องขอนมเอง และดูดเต้าแรง
– ดูดนม 8 ถึง 12 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
– อุจจาระมีสีเหลืองอ่อน
– นอนหลับนาน 2-3 ชั่วโมง และหลับดีหลังให้นม
– กลับมาน้ำหนักเท่าแรกเกิดภายในระยะเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
– น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 150g หรือมากกว่านั้น ในทุกสัปดาห์ ในช่วง 3 เดือนแรก
– มีจำนวนปัสสาวะและอุจจาระเหมาะสมตามช่วงอายุของทารก
– เต้านมของคุณแม่จากที่คัดตึงกลายเป็นนิ่มลง
– เต้านมที่ไม่ถูกดูดมีน้ำนมหยด
ทราบได้อย่างไรว่าลูกน้อยได้รับนมไม่เพียงพอ ?
สัญญาณที่บ่งบอกว่าทารกได้รับน้ำนมแม่ไม่เพียงพอ
– น้ำหนักลูกลดลงมากกว่า 7-10% จากแรกเกิด หรือยังลดลงต่อเนื่องหลังอายุ 3-5 วัน หรือยังไม่เท่าน้ำหนักแรกเกิดที่อายุ 7-10 วัน
– อุจจาระสีเขียวเข้ม (ขี้เทา) ไม่เปลี่ยนเป็นสีเหลือง
– อุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อวัน
– ปัสสาวะน้อยกว่า 6 ครั้งต่อวัน หรือ ปัสสาวะสีเหลืองเข็ม หรือเป็นตะกอนสีส้ม
น้ำนมมีน้อยทำอย่างไรดี ?
การมีน้ำนมไม่เพียงพอ หมายถึง
การมีน้ำนมไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเจริญเติบโตและพัฒนาการตามปกติของเด็กทารก
ปริมาณน้ำนมน้อยมักเกิดขึ้นชั่วคราว การจัดการที่เหมาะสมจะช่วยแก้ปัญหานี้ให้ดีขึ้นได้ การผลิตน้ำนมนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของทารก ยิ่งน้ำนมออกจากเต้ามากเท่าใด การผลิตน้ำนมก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งทารกดูดนมออกน้อยเท่าไหร่ก็ยิ่งผลิตน้ำนมได้น้อยลงเท่านั้น
หากลูกน้อยของคุณปัสสาวะจำนวนมากในแต่ละวัน แสดงว่าน้ำนมไม่พออาจไม่ใช่ปัญหา
น้ำนมน้อย กระตุ้นอย่างไร ?
วิธีเพิ่มน้ำนม

วิธีต่อไปนี้อาจช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม
– ให้ลูกน้อยแนบเต้าในท่าที่ถูกต้องเพื่อให้ลูกดูดน้ำนมออกจากเต้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ
– ให้นมลูกบ่อยขึ้น — ให้นมลูกตามความต้องการทุก 2-3 ชั่วโมง อย่างน้อย 8 ครั้งใน 24 ชั่วโมง
– เปลี่ยนให้ลูกดูดนมทั้ง 2 ข้าง และให้เต้าละ 2 ครั้ง
– ทุกครั้งที่ให้นมลูกหรือปั๊มนมออก ตรวจสอบให้แน่ใจว่าน้ำนมเกลี้ยงเต้า
– ไม่ควรเว้นระยะการให้นมนานกว่า 5 ชั่วโมง วิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือให้ทารกดูดนม หากไม่ได้ให้ใช้มือหรือที่ปั๊มไฟฟ้า
– เวลาให้นมลูก ให้บีบเต้าร่วมด้วยเพื่อช่วยให้น้ำนมไหล จะทำให้ลูกดูดนมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
– อย่าลืมดื่มน้ำเยอะๆ รับประทานอาหารที่สมดุลและไม่อดอาหาร
– อาหารบางชนิดช่วยกระตุ้นน้ำนมได้ เช่น น้ำหัวปลี ขิง กระเพรา เป็นต้น
BBF (BNH Breast Feeding Formula)
วิตามินคุณแม่หลังคลอดที่กังวลเรื่องน้ำนม
1,900 บาท
Personalized Vitamin
วิตามินเฉพาะบุคคล
เหมาจ่าย
2,800 บาท/เดือน
Basic Nutrient (Blood Vitamin Test)
แพคเกจตรวจ
วิตามินและแร่ธาตุพื้นฐาน
ด้วยวิธีการตรวจเลือด
5,490 บาท
พฤติกรรมการดูดนมของเด็กทารก
นอกจากนี้ คุณแม่อาจพบปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับการให้นมแม่ ดังนี้
ปัญหาบางประการเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้แก่:
– ลูกน้อยต้องการการให้นมบ่อย ๆ สาเหตุจากนมแม่จะถูกย่อยในเวลาประมาณ 1.5 ถึง 2 ชั่วโมง ในขณะที่นมอื่นๆ จะใช้เวลาในการย่อยนานกว่า
– ลูกน้อยหงุดหงิดมากขึ้นในช่วงเย็น คุณแม่อาจผลิตน้ำนมได้น้อยลงและลูกน้อยอาจต้องการนมน้อยลงในช่วงนี้ และต้องการนมบ่อยๆ ในบางช่วงเวลาของวัน
– ลูกชอบดูดนมแม้ว่าเราจะให้นมลูกได้ดี เพราะการดูดช่วยให้ลูกน้อยสบายใจ
– ต้องการกอดและการสัมผัสผิวหนังบ่อยๆ เพราะการกอดทำให้รู้สึกปลอดภัยและมั่นใจได้ว่าความต้องการของทารกจะได้รับการตอบสนอง
– ลูกน้อยต้องการนมบ่อยขึ้นเมื่อทารกเจริญเติบโต ซึ่งน้ำนมแม่ก็จะเพิ่มด้วยเช่นกัน
– เวลาดูดที่เต้านมลดลง ซึ่งมักจะเกิดขึ้นหลังจาก 2 หรือ 3 เดือน เนื่องจากลูกน้อยมีประสิทธิภาพในการดูดเต้านมมากขึ้น
Ref.
ข้อมูลโดย
ภญ. ปฐมา เทพชัยศรี
เภสัชกรคลินิก แผนกเภสัชกรรม
โรงพยาบาลบีเอ็นเอช