ภาวะกระดูกพรุน
&
ภาวะกล้ามเนื้อถดถอย

ภาวะกระดูกพรุน (osteoporosis) คือ ภาวะที่ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกลดลง ส่งผลให้กระดูกขาดความแข็งแรง เปราะบาง แตกหักได้ง่าย แม้มีแรงกระทบกระแทกเพียงเล็กน้อย บริเวณที่มักพบกระดูกหักจากภาวะกระดูกพรุน ได้แก่ กระดูกข้อมือ กระดูกสันหลัง และกระดูกสะโพก
ภาวะกระดูกพรุนไม่มีอาการชี้นำและสัญญาณเตือน กระดูกจะค่อยๆ ลดความแข็งแรงลงโดยไม่ทันสังเกตเห็น จนกระทั่งกระดูกหัก กระดูกทรุด รูปร่างของข้อเปลี่ยนแปลงไปจึงจะตรวจพบ นับเป็น “ภัยเงียบ” ที่ควรเฝ้าระวังและติดตามอาการตั้งแต่ระยะเริ่มต้น เพื่อป้องกันไม่ให้กระดูกหัก รวมถึงป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นตามมา
ภาวะกล้ามเนื้อถดถอย (Sarcopenia) คือ ภาวะที่มีการสูญเสียมวลและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ซึ่งส่งผลต่อสมรรถภาพความสามารถทางกาย สาเหตุมาจากหลายปัจจัย เช่น การใช้งานกล้ามเนื้อลดลง ความเสื่อมของเซลล์ตามวัยที่เพิ่มขึ้น ภาวะโภชนาการ รวมถึงพันธุกรรม เป็นต้น
ภาวะนี้ถือเป็นกลุ่มอาการของผู้สูงอายุ (Geriatric Syndrome) ที่พบบ่อยถึง 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั่วไป ผู้ที่มีภาวะกล้ามเนื้อถดถอยจะมีโอกาสหกล้ม ทำให้กระดูกหักมากขึ้น รวมถึงไม่สามารถช่วยเหลือตนเอง เป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวัน ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตและสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) และภาวะกล้ามเนื้อถดถอย (Sarcopenia) เป็นปัญหาหลักสำคัญของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ (Musculoskeletal) ที่พบในคนสูงอายุ ทั้ง 2 ภาวะมีปัจจัยเสี่ยงและพยาธิกำเนิดที่ทับซ้อนกัน
เมื่อภาวะกระดูกบาง (osteopenia) กระดูกพรุนและกล้ามเนื้อถดถอยเกิดขึ้นพร้อมกัน จึงทำให้เกิดกลุ่มโรคเฉพาะในผู้สูงอายุชนิดใหม่ขึ้น เรียกว่า Osteosarcopenia ซึ่งจะมีการลดลงของมวลกระดูกและการลดลงของมวลกล้ามเนื้ออย่างต่อเนื่อง เมื่ออายุเพิ่มขึ้นส่งผลให้ความแข็งแรงและประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อลดลง เกิดความเสี่ยงต่างๆ ที่ตามมา ได้แก่ ความเสี่ยงต่อการเกิดการหกล้ม กระดูกหัก เกิดความบกพร่องทางกาย คุณภาพชีวิตแย่ลง และเพิ่มอัตราการตาย
มวลกระดูกจะมีความหนาแน่นมากที่สุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี จากนั้นจะเริ่มลดลงช้าๆ เมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากกระดูกมีการสร้างขึ้นใหม่น้อยกว่าการทำลาย หลังจากอายุ 50 ปี การสูญเสียมวลกระดูกจะเกิดในอัตราเร่งที่มากขึ้นทั้งในผู้ชายและผู้หญิง
เพศหญิงมีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุนเร็วกว่าและมากกว่าเพศชาย เนื่องจากเพศหญิงมีเนื้อกระดูกน้อยกว่าเพศชาย 10 – 30% และมีการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วเมื่อถึงวัยหมดประจำเดือน ส่งผลกระทบทั้งด้านความหนาแน่นและโครงสร้างของกระดูก ทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง
ในครอบครัวที่พ่อแม่มีประวัติภาวะกระดูกพรุน ลูกจะมีโอกาสเกิดภาวะนี้เช่นเดียวกัน
เช่น รับประทานโปรตีนต่ำ บริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ ดื่มกาแฟ หรือน้ำอัดลมเกินขนาด ทำให้ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก
การขาดการออกกำลังกาย กิจกรรมทางกายต่ำ ไม่ค่อยออกแรง มีพฤติกรรมเนือยนิ่ง ส่งผลให้มีโอกาสเกิดภาวะกระดูกพรุนมากขึ้น
ผู้ที่มีดัชนีมวลกายน้อยกว่า 19 การทรงตัวและการเคลื่อนไหวไม่ดี หกล้มบ่อยครั้ง มีโอกาสจะเกิดภาวะกระดูกพรุนมากกว่าผู้ที่มีรูปร่างและการทรงตัวเป็นปกติ
โรคประจำตัวบางอย่างอาจส่งผลให้เกิดภาวะกระดูกพรุนได้ เช่น โรคระบบต่อมไร้ท่อ โรคที่เกิดจากการอักเสบ โรคไต โรคตับ โรคเกี่ยวกับการดูดซึมอาหาร โรคมะเร็ง เป็นต้น
การได้รับยาบางชนิดเป็นเวลานานอาจส่งผลให้กระดูกสลายตัวมากขึ้น เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาทดแทนไทรอยด์ ยากันชัก ยาเคมีบำบัด ยาต้านอาการทางจิต เป็นต้น
ควรหลีกเลี่ยงดื่มแอลกอฮอล์ เพราะจะทำให้เกิดภาวะกระดูกพรุนเร็วขึ้นและกล้ามเนื้อไม่แข็งแรง
สารนิโคตินในบุหรี่ส่งผลต่อการสร้างมวลกระดูก ทำให้เสี่ยงเกิดภาวะกระดูกพรุนมากขึ้น
ในผู้สูงอายุควรออกกำลังกายชนิดที่มีการลงน้ำหนัก เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ หรือเต้นรำ รวมถึงควรฝึกการทรงตัวเพื่อป้องกันการหกล้ม ลดโอกาสการเกิดกระดูกหักด้วย
การตรวจวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนทำได้หลายวิธี สำหรับวิธีที่นิยมทำกันในปัจจุบัน คือ การตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก (Bone Mineral Density-BMD) ซึ่งสามารถตรวจระดับความแข็งแรงของกระดูก วินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น โดยการใช้รังสี X-ray พลังงานต่ำสะท้อนภาพเนื้อเยื่อกระดูก ผู้เข้ารับการตรวจจะได้รับปริมาณรังสีน้อย ทราบผลการตรวจอย่างรวดเร็ว แม่นยำ และปลอดภัย
เครื่องตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูกมีหลายแบบ ที่นิยมใช้คือแบบที่เรียกว่า Dual Energy X-ray Absorptiometry scanner หรือ DEXA scanner ตำแหน่งที่ตรวจ คือบริเวณกระดูกสันหลัง กระดูกสะโพก และบริเวณข้อมือ เนื่องจากบริเวณเหล่านี้เป็นบริเวณที่พบว่ามีการแตกหักของกระดูกจากภาวะกระดูกพรุนได้บ่อย
นอกจากตรวจหาความหนาแน่นของมวลกระดูก การตรวจ DEXA scan ยังสามารถตรวจหามวลกล้ามเนื้อ และการกระจายตัวของไขมันในร่างกายได้อย่างแม่นยำในเวลาเดียวกัน มีความน่าเชื่อถือสูง และมีความสะดวกสบายในการตรวจ ทำให้สามารถประเมินโรคอ้วน ภาวะไขมันส่วนเกินสะสมและการกระจายตัวของไขมันในร่างกายบริเวณแขน ขา และลำตัว รวมถึงการกระจายตัวของมวลกล้ามเนื้อรวม และมวลกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย ทั้งยังสามารถประเมินภาวะการสูญเสียกล้ามเนื้อได้อีกด้วย
การตรวจ DEXA whole body and BMD scan ทำให้สามารถตรวจความแข็งแรงของกระดูก รวมถึงช่วยดูแลวางแผนในการลดไขมัน และการสร้างกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดีในเวลาเดียวกัน
Dual Energy X-ray Absorptiometry scanner หรือ DEXA scanner คือ เครื่องมือตรวจวัดความหนาแน่นของกระดูก โดยใช้รังสีเอ็กซ์พลังงานต่ำ 2 พลังงานในการวิเคราห์ความหนาแน่นของมวลกระดูก ปริมาณรังสีที่ใช้น้อยมาก มีความปลอดภัย และความแม่นยำสูง ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้เป็นวิธีมาตรฐานในการวินิจฉัยโรคกระดูกพรุน
เครื่อง DEXA Scan แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
โปรแกรมตรวจวัดความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อ เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงในการเกิดภาวะกระดูกพรุน ภาวะกล้ามเนื้อถดถอย รวมถึงโรคเกี่ยวกับกระดูกและกล้ามเนื้ออื่นๆ
Special price | Regular price | ||
Bone Mass Density Test | โรคกระดูกพรุน ตรวจคัดกรองด้วย การตรวจความหนาแน่นของกระดูก | 1,490 | 4,950 |
BMD and Knee Osteoarthritis Screening Package | แพ็กเกจตรวจความหนาแน่นของกระดูกและคัดกรองโรคข้อเข่าเสื่อม | 3,090 | 7,850 |
BMD and Cognitive Assessment Package | แพ็กเกจตรวจความหนาแน่นของกระดูก และ ประเมินภาวะสมองเสื่อม ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ความเข้มข้นของเลือด วัดค่าน้ำตาลในเลือด รวมถึงตรวจวัดปริมาณวิตามิน D ซึ่งส่งผลต่อการดูดซึมแคลเซียมในทางเดินอาหาร นับเป็นปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับความแข็งแรงของกระดูก | 1,990 | 5,450 |
ระยะเวลา วันนี้ – 31 พฤษภาคม 2566
เงื่อนไขการใช้บริการ
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า