
วิตามินเคเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน เป็นกลุ่มของสารประกอบ ซึ่งสารประกอบที่สำคัญที่สุดคือวิตามินเค1 และวิตามินเค2 วิตามินเค1 หรือ phylloquinone ได้มาจากผักใบเขียวและผักอื่นๆ วิตามินเค2 หรือ menaquinone เป็นกลุ่มของสารประกอบที่ได้รับจากเนื้อสัตว์ ชีส และไข่เป็นส่วนใหญ่ และได้รับจากการสังเคราะห์โดยแบคทีเรียในลำไส้จากวิตามินเค1
หน้าที่หลักของวิตามินเคทุกประเภทคือการกระตุ้นโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญในการแข็งตัวของเลือด สุขภาพของหัวใจ และสุขภาพของกระดูก
วิตามินเคช่วยในการแข็งตัวของเลือด
โปรตีนหลายชนิดที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด มีความสัมพันธ์กับวิตามินเค หากไม่มีวิตามินเค เราอาจมีเลือดออกมากเกินไปและเสียชีวิตได้จากบาดแผลเพียงเล็กน้อยที่เลือดไหลไม่หยุด
ผู้ที่มีความผิดปกติของการแข็งตัวของเลือดและกินยาที่เรียกว่าวาร์ฟารินเพื่อป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวเป็นลิ่มง่ายเกินไป ควรรักษาระดับวิตามินเคในร่างกายให้คงที่เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด
แม้ว่าความสนใจส่วนใหญ่จะเน้นที่แหล่งอาหารของวิตามินเค1 แต่การกินวิตามินเค2 ที่เพียงพอก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน
วิตามินเคช่วยให้สุขภาพกระดูกดีขึ้นและลดความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน
วิตามินเคกระตุ้นโปรตีนที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการพัฒนาของกระดูก โดยเฉพาะวิตามินเค2
โรคกระดูกพรุนเป็นปัญหาโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสตรีสูงอายุ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก
วิตามินเค2 มีบทบาทสำคัญในการทำงานของแคลเซียม ซึ่งเป็นแร่ธาตุหลักที่พบในกระดูกและฟัน
วิตามินเค2 กระตุ้นการจับแคลเซียมกับโปรตีน 2 ชนิด ได้แก่ matrix GLA protein และ osteocalcin ซึ่งช่วยในการสร้างและบำรุงรักษากระดูก
การศึกษา 3 ปีในสตรีวัยหมดประจำเดือน 244 คนพบว่าผู้ที่กินวิตามินเค2 เสริมมีความหนาแน่นของกระดูกที่เกี่ยวข้องกับอายุลดลงช้ากว่ามาก
มี 7 การศึกษาที่พบว่าวิตามินเค2 ช่วยลดการแตกหักของกระดูกสันหลังได้ 60% กระดูกสะโพกหักได้ 77% และการแตกหักที่ไม่ใช่กระดูกสันหลังทั้งหมดได้ถึง 81%
ตามการค้นพบนี้ ทำให้อาหารเสริมวิตามินเคได้รับการแนะนำอย่างเป็นทางการเพื่อป้องกันและรักษาโรคกระดูกพรุนในประเทศญี่ปุ่น

วิตามินเคช่วยป้องกันโรคหัวใจ
วิตามินเคกระตุ้นโปรตีนที่ช่วยป้องกันไม่ให้แคลเซียมสะสมในหลอดเลือดแดง แคลเซียมที่สะสมในหลอดเลือดแดงทำให้เกิดคราบพลัค (plaque) ซึ่งทำให้หลอดเลือดอุดตันได้
การศึกษาหลายชิ้นชี้ให้เห็นว่าวิตามินเค2 ดีกว่าวิตามินเค1 ในการลดปริมาณแคลเซียมและลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
อย่างไรก็ตาม มีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าทั้งอาหารเสริมวิตามินเค1 และวิตามินเค2 (โดยเฉพาะ MK-7) ช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น ทั้งนี้ ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
ปริมาณวิตามินเคที่ควรได้รับต่อวัน
ร่างกายคนปกติมักไม่ขาดวิตามินเค1
ผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ สำหรับผู้ใหญ่ชายอายุ 19 ปีขึ้นไป ปริมาณวิตามินเค1 ที่ควรได้รับต่อวัน คือ 120 ไมโครกรัม และหญิงอายุ 19 ปีขึ้นไป 90 ไมโครกรัม
ร่างกายเราสามารถรับวิตามินเค1 ที่เพียงพอได้ง่ายๆ โดยการกินผักขม ผักสลัด ผักปวยเล้ง ประมาณ 1 ถ้วย (100 กรัม) และหากบริโภคผักเหล่านี้ ร่วมกับแหล่งไขมัน เช่น ไข่แดงหรือน้ำมันมะกอก จะช่วยให้ร่างกายดูดซึมวิตามินเคได้ดีขึ้น
ขณะนี้ยังไม่มีคำแนะนำว่าเราควรกินวิตามินเค2 ในปริมาณเท่าใดต่อวัน อย่างไรก็ตามควรกินอาหารที่อุดมด้วยวิตามินเค2 ร่วมด้วย
แหล่งอาหารที่มีวิตามินเค
อาหารที่มีอยู่อย่างแพร่หลายมักเป็นแหล่งของวิตามินเค1 มากกว่าวิตามินเค2
ร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนวิตามินเค1 เป็นวิตามินเค2 ได้บางส่วน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเนื่องจากปริมาณวิตามินเค1 ในอาหารทั่วไปมีมากกว่าวิตามินเค2 ถึง 10 เท่า
อย่างไรก็ตาม หลักฐานในปัจจุบันบ่งชี้ว่ากระบวนการแปลงนั้นไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นเราอาจได้รับประโยชน์มากขึ้นจากการกินวิตามินเค2 เสริมโดยตรง
อาหารที่มีวิตามินเค1 สูง
วิตามินเค1 เกิดขึ้นตามธรรมชาติในผักใบเขียวเข้ม อาหารที่มีวิตามินเค1 สูง ได้แก่
– ผักใบเขียว ได้แก่ กระหล่ำปลี เคล ผักโขม บรอกโคลี ผักกาดหอม ผักสลัด ผักปวยเล้ง ดอกขจร หน่อไม้ฝรั่ง
– น้ำมันถั่วเหลืองและน้ำมันคาโนลา
อาหารที่มีวิตามินเค2 สูง
วิตามินเค2 มักพบในสัตว์บางชนิดและอาหารหมักดอง ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยกิน และพบว่าแบคทีเรียในลำไส้ของเราสามารถผลิตวิตามินเค2 ได้ แต่มักพบว่าไม่เพียงพอ
อาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินเค2 ได้แก่
1. นัตโตะ (Natto) นัตโตะเป็นอาหารหมักที่มีวิตามินเค2 สูงมาก แต่บางคนไม่ชอบรสชาติอาหารนี้
2. กินไข่ให้มากขึ้น ไข่เป็นแหล่งวิตามินเค2 ที่ดีพอสมควร ซึ่งสามารถเพิ่มเข้าไปในอาหารเช้าประจำวันของคุณได้ง่ายๆ
3. กินชีสบางชนิด ชีสหมัก เช่น Jarlsberg, Edam, Gouda, cheddar และ blue cheese มีวิตามินเค2 ที่เกิดจากแบคทีเรียที่ใช้ในระหว่างการผลิต
หากเราไม่สามารถเข้าถึงอาหารเหล่านี้ได้หรือกินได้น้อย การกินวิตามินเค2 เสริมเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำได้
ประโยชน์ของการเสริมด้วยวิตามินเค2 อาจเพิ่มมากขึ้นเมื่อใช้ร่วมกับการเสริมวิตามินดี ซี่งมีผลเสริมฤทธิ์กัน
แม้ว่าจะต้องมีการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม แต่การวิจัยในปัจจุบันเกี่ยวกับวิตามินเค2 กับสุขภาพมีแนวโน้มสัมพันธ์กันในทางที่ดี

สัญญาณของการขาดวิตามินเค
การขาดวิตามินเค
การขาดวิตามินเคในผู้ใหญ่นั้นพบได้ยาก แต่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ที่กินยาที่ขัดขวางการดูดซึม หรือในผู้ที่มีสภาวะการดูดซึมอาหารและสารอาหารบกพร่อง ทารกแรกเกิดอาจขาดวิตามินเคได้ เนื่องจากวิตามินเคไม่ได้ผ่านรก และน้ำนมแม่มีปริมาณน้อย ดังนั้น ทารกแรกเกิดจึงมักได้รับวิตามินเคเสริม
การขาดวิตามินเค จะทำให้เลือดออกง่าย หรือใช้เวลาแข็งตัวนานกว่าปกติ อาจตกเลือดได้ และเป็นโรคกระดูกพรุน
ยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์กว้างอาจทำลายแบคทีเรียที่ผลิตวิตามินเคในลำไส้ ซึ่งอาจทำให้ระดับวิตามินเคลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากได้รับยาเป็นเวลานานกว่า 2-3 สัปดาห์ ผู้ที่กินอาหารได้ลดลงในขณะใช้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลานาน อาจเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร และอาจได้ประโยชน์จากการเสริมวิตามินเค
วิตามินเคเสริม
ควรเสริมวิตามินเคหรือไม่
การขาดวิตามินเคนั้นพบได้น้อยมาก และคนส่วนใหญ่ได้รับวิตามินเพียงพอจากอาหาร โดยเฉพาะวิตามินเค1 ยกเว้น ผู้ที่เสี่ยงต่อการขาดวิตามินเคอาจต้องพิจารณาวิตามินเสริม
วิตามินเคเสริมอาจอยู่ในรูปวิตามินเคเดี่ยวๆ หรืออยู่ในรูปของวิตามินอื่นๆ ที่รวมอยู่ด้วย เช่น วิตามินดี แคลเซียม หรือแมกนีเซียม
ประเภทของวิตามินเคที่มีอยู่ทั่วไปในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งแต่ละยี่ห้อมีปริมาณต่างกัน ได้แก่:
วิตามินเค1
วิตามินเค2 ในรูปแบบ MK-4 หรือ MK-7
วิตามินเค1 โดยปกติแล้วคนทั่วไปมักไม่กินเสริม มักได้รับเพียงพอจากอาหาร นอกจากนี้ วิตามินสามารถทำปฏิกิริยากับยาบางชนิดได้ โดยเฉพาะยาต้านการแข็งตัวของเลือด ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการกินเสริมทุกครั้ง
ส่วนวิตามินเค2 มีการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการบริโภควิตามินเค2 ที่สูงขึ้นช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดความเสี่ยงของกระดูกหัก ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนอาจปรึกษาแพทย์เพื่อกินเสริม
Personalized Vitamin
วิตามินเฉพาะบุคคล
เหมาจ่าย
2,800 บาท/เดือน
2 Check แพคเกจ
เช็คความเสื่อมและตรวจวิตามินดี
2,100 บาท
Basic Nutrient (Blood Vitamin Test)
แพคเกจตรวจ
วิตามินและแร่ธาตุพื้นฐาน
ด้วยวิธีการตรวจเลือด
5,490 บาท
Ref.