5 ข้อน่ารู้เกี่ยวกับการแพ้อาหาร

คนไทยแพ้อาหารอะไรบ้าง

อุบัติการณ์การแพ้อาหารพบประมาณ 1-10%  ในเด็กไทยพบว่ามีการแพ้นมวัว แป้งสาลีและไข่ไก่มากที่สุด เมื่อเทียบกับเด็กทางยุโรปหรืออเมริกาซึ่งพบการแพ้ถั่วลิสงมาก สำหรับในผู้ใหญ่มักพบการแพ้อาหารทะเล ถั่วลิสงหรือถั่วเปลือกแข็ง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้อาหาร

อาการแสดงเริ่มต้นอาจมีหลายรูปแบบ เช่น

-ชนิดเฉียบพลัน เช่น ลมพิษ หายใจไม่ออก มักเป็นหลังรับประทานอาหารที่แพ้ภายในนาทีหรือชั่วโมง

-ผื่นผิวหนังอักเสบ ผดผื่นคัน พบหลังรับประทานอาหารที่แพ้เป็นหลักวัน หรือสัปดาห์

-อาการทางลำไส้ เป็นการแพ้ชนิดไม่เฉียบพลัน เช่น เด็กเล็กที่มีถ่ายปนมูกเลือดหลังกินนมวัว ภาวะลำไส้อักเสบดูดซึมไม่ปกติ

การวินิจฉัยอาศัยทั้งอาการ, การตรวจร่างกาย, การทดสอบผิวหนังหรือเจาะเลือด ในกรณีการแพ้แบบเฉียบพลัน และยืนยันด้วยการทดสอบโดยการรับประทานอาหารนั้นๆ หรือ Oral Food Challenge Test   สำหรับการแพ้ที่มีอาการทางเดินอาหารอาจพิจารณาตรวจอุจจาระ การส่องกล้องกระเพาะอาหาร หรือลำไส้ตามอาการ

ทำไมบางคนจึงแพ้อาหารหลายชนิด

การแพ้อาหารสามารถเกิดการแพ้ข้ามกลุ่มกันจากความคล้ายคลึงของโมเลกุลสารก่อภูมิแพ้ เช่น แพ้แป้งสาลีพบว่า 25% มีการแพ้บาร์เลย์หรือข้าวไรย์ร่วมด้วย, คนที่แพ้กุ้งพบว่า 75% แพ้ปูด้วย น้อยกว่า 50% พบว่าแพ้หอยหรือปลาหมึกด้วย, ภาวะแพ้นมวัวนั้นมากกว่า 90% พบว่าแพ้นมแพะหรือนมแกะร่วมด้วย ในขณะที่มีเพียงน้อยกว่า 5% ที่มีการแพ้นมอูฐหรือนมม้าสำหรับการแพ้ถั่วลิสงพบว่าแพ้ถั่วเปลือกแข็ง เช่น เม็ดมะม่วงหิมพานต์ พิตาชิโอ้ วอลนัท ร่วมด้วยประมาณ 33% เป็นต้น

แพ้อาหารหายได้หรือไม่

การแพ้แต่ละชนิดโอกาสหายไม่เท่ากัน การแพ้นมวัวและไข่ไก่ เฉลี่ย 50% หายแพ้ที่ 5-6 ขวบ, แป้งสาลี 50% หายแพ้ที่ 7 ขวบ ในขณะที่การแพ้ถั่วพบเพียงแค่ 10-20% หายแพ้ที่ 5 ขวบ และอาจแพ้ต่อเนื่องจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ในปัจจุบันนี้จึงมีวิธีการรักษาที่เรียกว่าวัคซีนภูมิแพ้ทางปาก หรือ Oral Immunotherapy ซึ่งเป็นการให้อาหารที่แพ้ในปริมาณควบคุมเหมาะสมเพื่อสร้างภูมิต้านทานมากขึ้นเรื่อยๆ  ในกรณีที่คนไข้ไม่หายแพ้โดยธรรมชาติและมีการแพ้แบบรุนแรงเฉียบพลัน

การป้องกันในเด็กหรือตั้งแต่ตั้งครรภ์ได้อย่างไรบ้าง

แนะนำรับประทานนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 4 เดือน เริ่มอาหารเสริมที่อายุ 4-6 เดือน ในทารกกลุ่มเสี่ยงที่นมแม่ไม่เพียงพอ การให้นมสูตรย่อยพิเศษ อาจช่วยป้องกันการเกิดผื่นผิวหนังอักเสบได้ เมื่อนำมาใช้แทนนมวัวสูตรปกติ โดยยังไม่มีหลักฐานเพียงพอสำหรับนมแพะหรือนมถั่วเหลือง หญิงตั้งครรภ์ควรทานอาหารให้สมดุลย์ครบทั้ง 5 หมู่ ไม่ต้องงดอาหาร  ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเน้นรับประทานนมวัวหรือนมถั่วเหลืองในช่วงเวลาตั้งครรภ์

มีหลักฐานทางการแพทย์กล่าวถึงการใช้โปรไบโอติกหรือพรีไบโอติก, ภาวะไม่บกพร่องของวิตามินดี, การมีโอเมก้า3 ที่สูง ซึ่งพบในปลาทะเล เช่น แซลมอน ปลาแมคเคอเรล และการมีสารต้านอนุมูลอิสระ จะช่วยเสริมความต้านทานต่อภาวะภูมิแพ้ได้ ทั้งนี้การศึกษานั้นมีจำกัด



แพทย์หญิงอัญชลี เสนะวงษ์

กุมารเวชศาสตร์ ภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยา

สถาบันภูมิแพ้ Samitivej Allergy Institute (SAI) โรงพยาบาล BNH

เอกสารอ้างอิง

  1. Savage et.at The Natural History of Food Allergy. J Allergy Clin Immunol Pract. 2016;4(2):196-203
  2. Cox AL et al. Clinical Relevance of Cross-Reactivity in Food Allergy. J Allergy Clin Immunol Pract 2021;9:82-99
  3. Sicherer SH et al. Food allergy: A review and update on epidemiology, pathogenesis, diagnosis, prevention, and management. J Allergy Clin Immunol 2018;141:41-58.

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังแบบสะกิด (Allergy Skin Prick Test)

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก