CHOLESTEROL คอเลสเตอรอล

CHOLESTEROL
คอเลสเตอรอล

คอเลสเตอรอล คือไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ของคนเรา รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของ น้ำดีอีกด้วย ร่างกายของเราจะได้รับคอเลสเตอรอลทั้งจาก อาหารที่รับประทานเข้าไปจากภายนอกโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ จากสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่สูง แต่ตับของเรา   ก็สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลขึ้นเองได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นคอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปมากเกินพอจึงกลายเป็นส่วนเกินของร่างกาย

คอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ

  1. LDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลที่อันตรายเพราะจะเกาะตัวตามผนังของ หลอดเลือดแดง ซึ่งจะทำให้ควายืดหยุ่นเสียไป และเกิดหลอดเลือดตีบตันตามมา
  1. HDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์เพราะจะช่วยป้องกันการเกาะตัวของ LDL ที่ผนังของหลอดเลือดแดง ช่วยในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดตีบตันได้

ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด

  1. ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ ความอ้วน การขาดการออกกำลังกาย และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
  1. ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ ผู้ชายที่อายุเกิน 45 ปี และผู้หญิงที่อายุ เกิน 55 ปี มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร

ผู้ที่มีคอเรสเตอรอลในเลือดสูงจะมีอาการหรือไม่ ?

ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจะไม่มีอาการใดๆ นอกจากจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น เจ็บแน่นหน้าอก ปวดน่องเวลาเดินหรืออัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งเป็นภาวะหลอดเลือด ในส่วนต่างๆ ตีบตัน

ใครที่มีความเสี่ยงที่จะมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ?

ได้แก่ ผู้ที่มีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารไขมันในปริมาณสูงไม่รับประทานผักและผลไม้ ขาดการออกกำลังกาย ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ของภาวะคอเรสเตอรอลในเลือดสูง และอายุที่มากขึ้น

เราจะทราบระดับของคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อย่างไร ?

เราสามารถตรวจวัดระดับไขมันรวมทั้งคอเลสเตอรอลด้วยวิธีการตรวจเลือดโดยตรวจแยกชนิดของคอเลสเตอรอลและระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ผู้ที่จะรับการตรวจควรงดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 12 ชั่วโมง และควรงดแอลกอฮอล์ 72 ชั่วโมง

ค่าปกติของคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ควรน้อยกว่า 200 mg/dl

* LDL Cholesterol:

–  ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือเบาหวาน ระดับ LDL ควรน้อยกว่า 100 mg/dl (ควรน้อยกว่า 70 mg/dl ใน ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง*)

–  ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและเบาหวาน แต่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด** ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป ระดับ LDL ควรน้อยกว่า 130 mg/dl

–  ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและเบาหวาน แต่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด** น้อยกว่า 2 ข้อ ระดับ LDL ควรน้อยกว่า 160 mg/dl ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ควรน้อยกว่า 150 mg/dl

*  HDL Cholesterol ควรมากกว่า 40 mg/dl

ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เพิ่งเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและเบาหวาน,ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงได้หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่รุนแรง, และผู้ที่มีภาวะ Metabolic syndrome (อ้วน + ไตรกลีเซอไรด์ สูง + HDL ต่ำ)

เราจะควบคุมระดับของคอเลสเตอรอล ในเลือดได้อย่างไร ?

  1. รับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวน้อยและคอเลสเตอลต่ำได้แก่ เนื้อปลา เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง ไข่ขาว น้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน
  2. ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง ได้แก่ อาหารทะเล (ยกเว้นปลา) หนังสัตว์ เนย เนยแข็ง นมไม่พร่องมันเนย
  3. รับประทานอาหารทีมีกากใยเช่น ผักและผลไม้
  4. หยุดสูบบุหรี่เพราะการสูบบุหรี่จะเพิ่ม LDL และลด HDL
  5. การออกกำลังกายแบบแอโรบิคเช่น การเดินเร็ว วิ่งจ๊อกกิ้ง ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เป็นต้น สามารถช่วยเพิ่มระดับ HDL และลด LDL ได้ โดยควรทำอย่างต่อเนื่องนาน 20-40 นาที/ครั้ง อย่างน้อย 4 วัน/สัปดาห์
  6. ผู้ป่วยบางรายอาจจะต้องใช้ยาร่วมด้วยภายใต้คำแนะนำของแพทย์

Hilestto ไฮเลสโต : สำหรับผู้ที่กังวลเรื่องคอเลสเตอรอลในเลือดสูง

฿720

การลดและควบคุมระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันได้สารพัดโรค
โดยค่าปกติของคอเลสเตอรอลรวม ควรน้อยกว่า 200 mg/dl

  • 1 กระปุกมี 30 เม็ด รับประทานได้ 1 เดือน
    (แนะนำให้ทานต่อเนื่องติดกันอย่างน้อย 3 เดือน)
  • อย. เลขที่ 10-1-26958-5-0255
  • ขายแล้ว 756 ชิ้น
อ่านเพิ่ม

OYAZU-Vit โอยะสุ-วิต วิตามินช่วยให้นอนหลับ BNH Hospital

฿1,420

เพราะชีวิตที่ดีต้องเริ่มต้นด้วยการมี “คุณภาพการนอนที่ดี”
การนอนหลับที่ไม่เพียงพออาจส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคต่างๆ ตามมา

  • อย.เลขที่ 10-1-26958-5-0241 / 1 กระปุกมี 30 แคปซูล
    (แนะนำให้ทานต่อเนื่องติดกันอย่างน้อย 3 เดือน)
อ่านเพิ่ม

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

ยินยอมทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง
    เปิดใช้งานตลอด

    เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ของเรา เนื่องจากคุกกี้เหล่านี้ทำให้เว็บเซิร์ฟเวอร์สามารถตอบสนองต่อการกระทำของท่านได้ อีกทั้งยังช่วยในการแสดงผลหน้าเว็บต่อท่าน และยังรวมถึงมอบประสบการณ์ที่สอดคล้องในระหว่างการท่องเว็บไซต์ คุกกี้เหล่านี้จะคงอยู่จนกว่าจะสิ้นสุดการเยี่ยมชมของท่านและจะถูกลบอัตโนมัติทันที
    รายชื่อคุกกี้ที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

    ช่วยให้เราสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงานของเว็บไซต์ของเราด้วยจำนวนครั้งการเข้าดูหน้าเว็บและจำนวนผู้เข้าใช้งานเว็บไซต์ โดยบริการวิเคราะห์เว็บจะวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งเราจะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้หรือค้นหาส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ที่ควรได้รับการปรับปรุง อย่างไรก็ตามข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถระบุถึงตัวบุคคลได้ (กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถใช้เพื่อระบุตัวตนของท่านและไม่มีการเก็บรวบรวมหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ และที่อยู่อีเมลของท่าน) และข้อมูลเหล่านี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางสถิติเท่านั้น
    รายชื่อคุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ

  • คุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

    ช่วยให้เรารับรู้เมื่อท่านกลับมาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา ด้วยข้อมูลนี้เราจึงสามารถปรับแต่งเว็บไซต์ของเราให้เป็นไปตามความต้องการของท่านได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการเยี่ยมชมของท่านให้มีประสิทธิภาพและเฉพาะเจาะจงสำหรับท่านมากขึ้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วข้อมูลที่รวบรวมโดยคุกกี้เหล่านี้จะไม่สามารถระบุตัวตนของท่านได้
    รายชื่อคุกกี้เพื่อช่วยในการใช้งาน

  • คุกกี้เพื่อการโฆษณา

    จะอยู่บนอุปกรณ์ของท่านเพื่อบันทึกหน้าเว็บไซต์หรือลิงค์ที่ท่านได้เยี่ยมชมหรือติดตาม ข้อมูลที่ได้จะถูกใช้เพื่อปรับแต่งเว็บไซต์ของเราและแคมเปญโฆษณาของเราเพื่อให้เหมาะกับความสนใจของท่าน
    คุกกี้เพื่อการโฆษณา

บันทึก