มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ที่กำลังคุกคามชีวิตคนไทยและประชากรทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง
คุณรู้มั้ยว่ามะเร็งลำไส้ใหญ่…..
-
สามารถป้องกันได้ก่อนที่จะเกิด
-
อาจเริ่มต้นจากไม่มีอาการใดๆ แสดงให้เห็น
-
ยิ่งรู้เร็ว ยิ่งรักษาได้หายขาด
คุณมีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่ ?
อย่านิ่งนอนใจหากลำไส้ใหญ่ส่งสัญญาณเตือน
- ท้องผูกสลับท้องเสีย
- ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน
- ปวดท้องเรื้อรัง
- ร่างกายอ่อนแรง
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
และยิ่งควรต้องตรวจหากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง
- ผู้มีอายุเกิน 50 ปีขึ้นไป ควรตรวจโดยการส่องกล้องทุก 3-5 ปี
- มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ควรตรวจตั้งแต่อายุ 40 ปี
- ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
- มีน้ำหนักตัวเกิน หรือภาวะโรคอ้วน
- บริโภคอาหารที่มีสารก่อมะเร็งเป็นประจำ จำพวกเนื้อแดง อาหารปิ้งย่าง
อย่าชะล่าใจ เข้ารับการตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่แต่เนิ่นๆ
วิธีง่ายๆ ในการรักษาสุขภาพและอาจช่วยรักษาชีวิตคุณได้
ทำไมต้องตรวจคัดกรองความเสี่ยงมะเร็งลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเป็นมะเร็งที่พบบ่อยและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของประชากรทั่วโลก ถ้าวินิจฉัยได้เร็วและได้รับการรักษาที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะแรก จากผลการเก็บสถิติ ผู้ป่วยจะมีอัตราการรอดชีวิตที่ 5ปี ถึง 90% แต่ถ้าเป็นระยะท้ายซึ่งมีการแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆ อัตรารอดชีวิตจะเหลือเพียง 10%
จากสถิติของโรงพยาบาลบีเอ็นเอช ผลการตรวจพบติ่งเนื้อ Positive ซึ่งมีโอกาสพัฒนาไปเป็นมะเร็งที่สูงมากดังนี้
- Polyp Positive (มีติ่งเนื้อซึ่งผลผิดปกติ) ได้รับการตัดชิ้นเนื้อเป็นมะเร็ง [55.54%] เฉลี่ย ผิดปกติ 1 ราย จากการตรวจ 2 ราย
- CA (เป็นมะเร็ง) ตรวจพบ [2.46%] เฉลีย พบมะเร็ง 1 ราย จากการตรวจ 41 ราย
ข้อมูลอ้างอิง |
2018 |
2019 |
2020 |
2021 |
Total |
จำนวนผู้ตรวจ |
793 |
817 |
651 |
66 |
2,273 |
จำนวนผู้ได้รับการตัดติ่งเนื้อ |
415 |
437 |
321 |
47 |
1,220 |
%ผู้ได้รับการตัดติ่งเนื้อ |
52.33% |
53.49% |
57.22% |
71.21% |
55.54% |
จำนวนค้นพบเป็นมะเร็ง |
6 |
16 |
8 |
0 |
30 |
% การค้นพบมะเร็ง |
1.45% |
3.66% |
2.49% |
0.00% |
2.46% |
การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ (Colonoscopy)
การส่องกล้องสำไส้ใหญ่ (Colonoscopy) เป็นการตรวจหามะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุด สามารถตรวจดูลักษณะภายในของลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้ทั้งหมด และอาจรวมถึงลำไส้เล็กส่วนปลายด้วย ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคของลำไส้ใหญ่ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำมากยิ่งขึ้น ทั้งยังสามารถตัดชิ้นเนื้อที่ผิดปกติออกมาเพื่อทำการตรวจได้ รวมถึงการช่วยประเมินปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับลำไส้ใหญ่ และยังช่วยในการรักษาก้อนเนื้องอกแบบที่ไม่ใช่มะเร็งที่เติบโตขึ้นที่บริเวณผนังลำไส้ใหญ่
-
ผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บและมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง
-
ตรวจแต่ละครั้งจะใช้เวลาเพียงประมาณ 20-30 นาที (ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวของลำไส้ใหญ่ของแต่ละคน)
-
สามารถตัดติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ได้ทันที โดยไม่ต้องผ่าตัด
-
สามารถตัดชิ้นเนื้อส่งตรวจทางพยาธิวิทยาได้ทันที
การเตรียมตัวก่อนและหลังการตรวจ
-
ห้ามรับประทานอาหารและเครื่องดื่มใดๆ ทั้งสิ้นภายใน 8-10 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการส่องกล้อง
-
พยาบาลจะให้จิบยาระบายเป็นระยะๆ ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง เพื่อทำความสะอาดลำไส้ใหญ่ก่อนรับการตรวจ
-
ก่อนตรวจแพทย์จะให้ยาเพื่อช่วยให้หลับหรือให้รู้สึกผ่อนคลาย ดังนั้นระหว่างการส่องตรวจผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บปวด ผู้ป่วยอาจรู้สึกปวดมวนท้องหรือท้องอืดได้ ซึ่งเป็นอาการปกติเนื่องจากมีอากาศไหลผ่านเข้าไปทางทวารหนักในระหว่างการสอดกล้อง
-
หากพบความผิดปกติในลำไส้ใหญ่หรือทวารหนัก แพทย์จะทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ตรวจวัดระยะอาการและแสดงตำแหน่งของเซลล์มะเร็งและการแพร่กระจาย เพื่อวางแผนกำหนดวิธีการรักษาในลำดับถัดไป
-
หลังการตรวจ ผู้ป่วยต้องนอนพักฟื้นเพื่อสังเกตอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 2 ชั่วโมงและรับประทานอาหารได้ตามปกติ
* การเตรียมตัวก่อนตรวจในแต่ละบุคคลอาจมีความแตกต่างกันในรายละเอียดเพื่อให้การตรวจและวินิจฉัยสมบูรณ์และเหมาะสม
ตรวจส่องกล้องลำไส้ใหญ่รักษามะเร็งลำไส้ได้จริงหรือ?
การตรวจอย่างละเอียดด้วยการส่องกล้องตรวจภายในลำไส้ใหญ่ ช่วยคัดกรองความผิดปกติที่เกิดขึ้นในลำไส้ได้อย่างแม่นยำ หากตรวจพบก้อนเนื้อร้ายได้เร็วจะสามารถทำการรักษาได้ทันท่วงที ประหยัดค่าใช้จ่าย และไม่ต้องทรมานกับการรักษาด้วยเคมีบำบัด คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ การส่องกล้องลำไส้ใหญ่จึงถือเป็นวิธีการที่ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่อย่างได้ผล
หากพบว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะมีวิธีการรักษาได้อย่างไรบ้าง?
มะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกเริ่มสามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องหรือการผ่าตัดผ่านกล้อง (Laparoscopic Surgery) ซึ่งใช้กับผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็งขนาดเล็กและยังไม่กระจายไปยังตำแหน่งอื่น ข้อดีคือแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กแค่ประมาณ 1 เซนติเมตร ทำให้ผู้ป่วยเจ็บปวดน้อยลงและใช้เวลาพักฟื้นไม่นาน ส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจพบมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะที่โรคลุกลามไปแล้ว การรักษาก็จำเป็นต้องใช้การให้ยาเคมีบำบัดและการฉายแสงร่วมกับการผ่าตัดควบคู่กันไป
วิธีการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
เป็นการยากที่จะกำจัดและป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ 100% ดังนั้น การส่องกล้องเพื่อตรวจหามะเร็งลำไส้ตั้งแต่ต้นจึงเป็นสิ่งจำเป็น ยิ่งกว่านั้น การดูแลตัวเอง รับประทานอาหารที่มีเส้นใยมากโดยเฉพาะผัก ผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงของโรคมะเร็งได้
รู้อย่างนี้แล้วก็อย่าชะล่าใจ เพราะมะเร็งลำไส้ใหญ่ รู้เร็วรักษาได้
โปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ราคาพิเศษ
ข้อมูลอ้างอิง |
2018 |
2019 |
2020 |
2021 |
Total |
จำนวนผู้ตรวจ |
793 |
817 |
651 |
66 |
2,273 |
จำนวนผู้ได้รับการตัดติ่งเนื้อ |
415 |
437 |
321 |
47 |
1,220 |
%ผู้ได้รับการตัดติ่งเนื้อ |
52.33% |
53.49% |
57.22% |
71.21% |
55.54% |
จำนวนค้นพบเป็นมะเร็ง |
6 |
16 |
8 |
0 |
30 |
% การค้นพบมะเร็ง |
1.45% |
3.66% |
2.49% |
0.00% |
2.46% |
ระยะเวลา วันนี้ – 31 ธันวาคม 2564
เงื่อนไขการใช้บริการ
* การเข้ารับการตรวจในโปรแกรมอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์เท่านั้น
* ราคาเฉพาะค่าใช้จ่ายในการส่องกล้องทางเดินอาหาร ไม่รวมค่าวินิจฉัยก่อนการส่องกล้อง
* มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการปรึกษาแพทย์เฉพาะทางและค่าตรวจชิ้นเนื้อ ในกรณีที่จำเป็นต้องส่งตรวจเพิ่มเติม
* ราคารวมค่าห้องส่องกล้อง ค่าห้องพักฟื้น ค่าเวชภัณฑ์ ค่ายาที่ใช้ในการผ่าตัด ค่าทีมแพทย์ทำหัตถการ
* โรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงราคาโดยมิได้แจ้งล่วงหน้า