
คือวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการในปริมาณที่น้อยมาก ไม่ให้พลังงานแก่ร่างกายแต่ขาดไม่ได้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย และอาจส่งผลร้ายแรงถึงขึ้นเสียชีวิตได้
ไมโครนิวเทรียนท์ สำคัญอย่างไร
ทำไมเราถึงต้องให้ความสำคัญกับระดับไมโครนิวเทรียนท์ในเลือด
เพราะวิตามินและแร่ธาตุเหล่านี้ทำหน้าที่หลากหลาย รวมถึงการช่วยให้ร่างกายผลิตเอนไซม์ ฮอร์โมน และสารอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการการพัฒนาตามปกติของร่างกาย
ไมโครนิวเทรียนท์ ประกอบด้วยอะไรบ้าง
ไมโครนิวเทรียนท์ ที่ควรได้รับการตรวจเพื่อนำมาปรับโภชนาการมีดังนี้
Beta-Crytoxanthin | Lycopene | Alpha-Carotene | Beta – Carotene | Coenzyme Q10 | Vitamin A (Retinol) | Vitamin E (Gamma -Tocopherol) | Vitamin E (Alpha -Tocopherol) | Lutein+Zeaxanthin | Magnesium | Vitamin B12 | Folate | Ferritin | Vitamin D2/D3
วิตามินและแร่ธาตุแต่ละตัวสำคัญอย่างไร
ประโยชน์ของวิตามินและแร่ธาตุแต่ละตัว
Beta-Crytoxanthin
อยู่ในกลุ่มของแคโรทีนอยด์ เป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ เป็นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงและป้องกันไม่ให้อนุมูลอิสระสามารถทำลายเซลล์และ DNA ได้ และช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งปอดและมะเร็งลำไส้ใหญ่ พบมากในส้มแมนดาริน ลูกพลับ ส้ม มะละกอ ฟักทอง และพริกหวานสีแดง
Lycopene
เป็นสารอาหารจากพืชที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ พบในผลไม้สีแดงและชมพู เช่น มะเขือเทศ แตงโม และเกรปฟรุตสีชมพู ซึ่งเป็นสีที่มีลักษณะเฉพาะ มีประโยชน์ต่อสุขภาพตั้งแต่หัวใจไปจนถึงการป้องกันผิวไหม้จากแดดและมะเร็งบางชนิด
Alpha-Carotene
สารตั้งต้นของวิตามินเอ มีฤทธิ์ที่แรงกว่าเบต้าแคโรทีน พบในผักและผลไม้ ที่มีสีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีเขียวเข้ม ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระต่อสู้กับการอักเสบที่เกิดจากการเกิดออกซิเดชันซึ่งมีบทบาทในการพัฒนาโรคหลอดเลือดหัวใจและมะเร็ง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอัลฟา-แคโรทีนจะมีความคล้ายคลึงกันทางเคมีกับเบตา-แคโรทีน แต่การศึกษาหลายการศึกษาก็แสดงให้เห็นว่าอัลฟา-แคโรทีนมีประสิทธิภาพมากกว่าในการลดอัตราการเสียชีวิตของมะเร็งบางชนิด (ปอด ต่อมลูกหมาก ตับ ฯลฯ) และลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง การเสียชีวิตจากหลอดเลือดหัวใจ การวิจัยในหัวข้อนี้มีแนวโน้มว่ายิ่งความเข้มข้นของอัลฟาแคโรทีนในเลือดสูงเท่าใด ความเสี่ยงของการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุก็จะลดลง
Beta- Carotene
เป็นสารประกอบที่ให้สีเหลือง สีส้ม และสีแดงสดใสแก่ผัก ร่างกายจะเปลี่ยนเบต้าแคโรทีนเป็นวิตามินเอ ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญในการมองเห็น มีบทบาทสำคัญในการเจริญเติบโตของเซลล์และในการรักษาอวัยวะที่แข็งแรง เช่น หัวใจ ปอด และไต เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ดีเยี่ยมต่อดวงตาและผิวหนัง
Coenzyme Q10
ช่วยให้เซลล์สร้างพลังงาน บำรุงหัวใจและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ลดความถี่ในการเป็นไมเกรน นอกจากนี้ยังสามารถลดความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันที่ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้า ผิวหนังถูกทำลาย และโรคทางสมองและปอด
Vitamin A (Retinol)
วิตามินเอเป็นกุญแจสำคัญในการมองเห็นที่ดี ช่วยการมองเห็นในที่แสงสลัว เสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันการเจ็บป่วย ช่วยในการเจริญเติบโตของเซลล์
รักษาผิวหนังและเยื่อบุของร่างกายให้แข็งแรง
Vitamin E (Gamma -Tocopherol)
มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต่อต้านริ้วรอย ป้องกันมะเร็ง โรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ และการเสื่อมลงตามอายุ
Vitamin E (Alpha -Tocopherol)
ช่วยบำรุงสุขภาพหัวใจ การไหลเวียนโลหิต ภูมิคุ้มกัน ช่วยให้ผิวสุขภาพดี
Lutein+Zeaxanthin
ช่วยปกป้องดวงตาจากคลื่นแสงพลังงานสูงที่เป็นอันตราย เช่น รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดด จากการศึกษาพบว่าหากมี 2 ค่านี้อยู่ในระดับสูง จะสัมพันธ์กับการมองเห็นที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแสงสลัวหรือในที่แสงจ้า
Magnesium
แมกนีเซียมมีความสำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ในร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อและเส้นประสาททำงานเป็นปกติ รักษาระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และช่วยให้ร่างกายสร้างโปรตีน กระดูก และดีเอ็นเอ การขาดแมกนีเซียมมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการต่างๆ เช่น ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน เหนื่อยล้า และอ่อนแรง การขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการชา ปวดกล้ามเนื้อ ชัก หัวใจเต้นผิดปกติได้ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดัน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ เบาหวานชนิดที่ 2 โรคกระดูกพรุน และไมเกรน
Vitamin B12
เป็นวิตามินสำคัญที่ช่วยการทำงานของร่างกายหลายอย่าง ช่วยในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงและ DNA ที่แข็งแรง ช่วยการทำงานของสมอง หากขาดวิตามินบี 12 อาจส่งผลต่อความจำและความรู้ความเข้าใจได้ นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มระดับพลังงาน ลดความอ่อนแรง เหนื่อยล้า ป้องกันการเสื่อมของตา ลดโอกาสเสี่ยงการเกิดโรคซึมเศร้า ความเสี่ยงในการขาดวิตามินบี 12 จะเพิ่มขึ้นหากเป็นผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ (รับประทานมังสวิรัติ)
Folate
เป็นวิตามินบีที่จำเป็นต่อการผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวในไขกระดูก สร้าง DNA และ RNA และเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตให้เป็นพลังงาน การมีโฟเลตในปริมาณที่เพียงพอมีความสำคัญเป็นพิเศษในช่วงที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การตั้งครรภ์ วัยทารก และวัยรุ่น ในผู้ใหญ่ทั่วไปก็มีความสำคัญไม่แพ้กันโดยเฉพาะในการบำรุงเลือด
Ferritin
เพื่อตรวจดูภาวะโลหิตจาง ซึ่งอาจนำไปสู่การขาดออกซิเจนในเลือด สามารถแสดงว่าร่างกายมีธาตุเหล็กมากเกินไปหรือน้อยเกินไป หรือใช้เพื่อวินิจฉัยโรคอื่นๆ ได้
Vitamin D2/D3 วิตามิน D2 และ D3
เป็นวิตามินดีสองรูปแบบหลัก วิตามิน D2 มีอยู่ในพืชและยีสต์ ในขณะที่ D3 มาจากสัตว์ วิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานของร่างกาย เช่น กระดูก กล้ามเนื้อ และภูมิคุ้มกัน ร่างกายมนุษย์สามารถผลิตวิตามินดีได้เมื่อโดนแสงแดด อย่างไรก็ตาม บางคนอาจจำเป็นต้องเพิ่มวิตามินดีโดยการบริโภคอาหารหรือวิตามินเสริมบางอย่าง วิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพ มีบทบาทสำคัญในการรักษามวลกระดูก ระบบประสาท และระบบภูมิคุ้มกัน เราสามารถรับวิตามินดีได้จากแสงแดด อาหาร หรือวิตามินเสริม

ทำไมเราถึงควรตรวจ Micronutrient Profile
การขาดสารอาหารไมโครนิวเทรียนท์ส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
การขาดสารอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดปัญหาทางสุขภาพที่อันตรายได้ โดยสามารถนำไปสู่ผลกระทบต่อความสามารถโดยรวม อาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง และเพิ่มความเสี่ยงจากโรคและสภาวะปัญหาสุขภาพอื่นๆ
เราสามารถป้องกันการขาดสารอาหารเหล่านี้ได้จากความรู้ด้านโภชนาการที่ถูกต้องและการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลาย รวมถึงการรับประทานอาหารเสริมในกรณีที่จำเป็น ซึ่งปริมาณความต้องการของไมโครนิวเทรียนท์ แตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล
ใครบ้างที่เหมาะกับการตรวจ Micronutrient Profile
การตรวจไมโครนิวเทรียนท์เหมาะสำหรับ
- ผู้ที่มีภาวะปกติที่อยากดูแลสุขภาพ ภาวะโภชนาการเป็นรากฐานของสุขภาพ การตรวจสอบและแก้ไขภาวะขาดสารอาหารเป็นขั้นตอนสำคัญในการรักษาสุขภาพที่ดีในระยะยาว
- ผู้ที่มีภาวะผิดปกติ ที่อาจเกิดจากการขาดไมโครนิวเทรียนท์ ซึ่งอาจพบว่าทำให้เกิด
โรคเบาหวาน อาการเหนื่อยล้า อารมณ์ผิดปกติ ควบคุมน้ำหนักได้ไม่ดี โรคกระดูกพรุน โรคหัวใจและหลอดเลือด
ปวดไมเกรน ไม่สามารถอดทนต่อความเครียด มีภาวะความดันโลหิตสูง เป็นต้น
1. https://www.healthline.com/
2. https://www.webmd.com/diet/health-benefits-beta-carotene
3. https://www.healthdirect.gov.au/magnesium
4. https://www.who.int/health-topics/micronutrients#tab=tab_1
5. https://www.synergyrehabaz.com/blog/why-should-i-care-about-micronutrient-testing