เลิกทน! ปวดหลัง ปวดคอ ปวดเอว ปวดร้าวลงแขน-ขา

เพราะแม้อาการเหล่านี้เป้นเพียงอาการปวดเบา ๆ คล้ายอาการปวดทั่ว ๆ ไป แต่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันและกิจกรรมต่าง ๆ อยู่ไม่น้อย บ่อยครั้งที่เราปล่อยทิ้งไว้จนอาการรุนแรงยิ่งขึ้น จนพลาดโอกาสและจังหวะที่ดีที่สุดในการรักษาไปอย่างน่าเสียดาย

คงจะดีกว่า ถ้าเรา เลิกทน! ปวดคอ ปวดหลัง ปวดเอว ปวดร้าวลงแขน-ขา และรีบหาสาเหตุของอาการผิดปกติเพื่อไม่ให้การรักษาช้าเกินไป

โรงพยาบาล BNH พร้อมที่จะช่วยคืนไลฟ์สไตล์ที่ชื่นชอบ ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ดีเหมือนเช่นเคย

การตรวจ MRI ส่วนกระดูกสันหลัง ที่มุ่งเป้าเพื่อค้นหาสาเหตุอาการผิดปกติต่างๆ และดำเนินการรักษาอย่างตรงจุดทันทีโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อฟื้นฟูร่างกายให้พร้อมสำหรับกิจกรรมต่างๆ ให้คุณได้ใช้ชีวิตในแบบที่คุณต้องการ มีความสุขได้ในแบบที่คุณปรารถนา

อาการที่ผิดปกติใน “กระดูกสันหลัง” เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย โดยอาจมีสาเหตุจากความเสื่อมของร่างกายตามอายุมากขึ้น พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันก็มีผลต่อกระดูกสันหลังเช่นกัน เช่น การยกของหนัก การเคลื่อนไหวร่างกายผิดวิธี หรืออุบัติเหตุ การนั่งนานๆ ก็ส่งผลให้เกิดความผิดปกติได้ทั้งด้านสรีระ และอาการแสดงต่าง ๆ เช่น เจ็บปวด รู้สึกชา ซึ่งการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ MRI เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพที่แพทย์มักใช้เพื่อการวินิจฉัยอาการ ตำแหน่งของโรค และหาสาเหตุของความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้อย่างแม่นยำ และยังช่วยให้การวางแผนการรักษาที่ถูกต้องและตรงจุด

อาการแบบใดบ้างที่บ่งบอกว่าควรต้องตรวจ MRI กระดูกสันหลัง

  • ปวดหลังเรื้อรัง เป็น ๆ หาย ๆ
  • ปวดหลังร้าวลงขา
  • ปวดคอ รุนแรง ร้าวลงแขน
  • แขน ขาอ่อนแรง ไม่มีกำลัง หรือ ลีบ
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง
  • กลั้นปัสสาวะ อุจจาระไม่อยู่

การตรวจ MRI กระดูกสันหลัง
แบ่งเป็นกี่ส่วน?

การตรวจ MRI กระดูกสันหลัง แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

  1. MRI C-spine ตรวจกระดูกสันหลังส่วนคอ (CERVICAL SPINE)
  1. MRI T-spine ตรวจกระดูกสันหลังส่วนอก (THORACIC SPINE)
  1. MRI LS-spine รวจกระดูกสันหลังส่วนเอว (LUMBAR SPINE)

อาการแสดงสำหรับการตรวจ MRI กระดูกสันหลังแต่ละส่วน มีอะไรบ้าง?

MRI
C-spine

ตรวจกระดูกสันหลังส่วนคอ
  • มีอาการปวดคอเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • มีอาการปวดต้นคอรุนแรง ร่วมกับอาการไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
  • เคยเกิดการบาดเจ็บบริเวณกระดูกต้นคอ
  • มีอาการชา อ่อนแรง หรือรู้สึกหนักที่แขนและขา
  • มีอาการปวดร้าวลงแขน ร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรง
  • รู้สึกเจ็บเหมือนถูกเข็มตำที่แขน
  • แขนขาทั้งสองข้างเกร็งกระตุก การทรงตัวไม่ดี เดินไม่ได้ไกล
  • ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายหรือระบบปัสสาวะได้

MRI T-spine

ตรวจกระดูกสันหลังส่วนอก
  • มีอาการปวดบริเวณกลางหลังเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • มีอาการปวดบริเวณกลางหลังอย่างรุนแรง ร่วมกับอาการไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกกลางคืน น้ำหนักลด ปวดเวลากลางคืน
  • มีอาการขาเกร็งกระตุก ขาทั้ง 2 ข้างทรงตัวไม่ดี โดยไม่มีอาการเกร็งที่แขนและมือ

MRI
LS-spine

ตรวจกระดูกสันหลังส่วนเอว
  • มีประวัติปวดหลังเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • มีอาการปวดหลังรุนแรง ร่วมกับอาการไข้ หนาวสั่น อ่อนเพลีย น้ำหนักลด
  • มีอาการปวดร้าวลงขา ร่วมกับมีอาการชาหรืออ่อนแรง
  • มีอาการขาลีบ แขนหรือขาอ่อนแรง
  • มีอาการแขนขากระตุก ควบคุมไม่ได้
  • มีอาการปวด ชา หรืออ่อนแรงขณะเดิน เดินไม่ได้ไกล
  • ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ หรือมีอาการชาบริเวณรอบๆ ก้นหรือรูทวารหนัก
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง

ตัวอย่าง
โรคที่สามารถตรวจพบจากการทำ MRI กระดูกสันหลัง

              MRI หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นทางเลือกหนึ่งของการตรวจวินิจฉัยที่ปลอดภัยจากรังสีและผลข้างเคียงของสารทึบแสง ไม่เจ็บปวด นอกจากจะช่วยวินิจฉัยอาการปวดคอ ปวดหลังได้อย่างตรงจุดแล้ว ยังทราบผลได้ในเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย

การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)
คืออะไร?

MRI
ตรวจอะไรได้บ้าง?

MRI of Nervous System

ตรวจความผิดปกติของระบบสมอง ไขสันหลัง เส้นประสาทในร่างกาย

  • ภาวะสมองขาดเลือด และความผิดปกติบริเวณก้านสมอง
  • เนื้องอกของสมอง
  • โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดในสมองตีบ สมองเสื่อม ปวดศีรษะเรื้อรัง
  • การอักเสบติดเชื้อของเนื้อสมองและเยื่อหุ้มสมอง
  • ตรวจหาสาเหตุของโรคลมชัก
  • ตรวจหาสาเหตุของการกดทับไขสันหลัง หรือกดทับเส้นประสาทสันหลัง
  • เนื้องอกไขสันหลัง
  • การติดเชื้อและบาดเจ็บของไขสันหลัง

MRI of Musculoskeletal System

ตรวจความผิดปกติของกระดูกสันหลัง ระบบกล้ามเนื้อและข้อต่อ

  • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หมอนรองกระดูกเคลื่อน
  • กระดูกสันหลังเสื่อม
  • ตรวจหาสาเหตุของอาการปวดคอ ปวดหลังเรื้อรัง หรือแขนขาอ่อนแรง
  • เนื้องอกภายในกระดูก
  • ความผิดปกติของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ กระดูกส่วนต่างๆ
  • การฉีกขาดของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น บริเวณข้อกระดูก เช่น ข้อเข่า ข้อเท้า เป็นต้น

MRIมี ข้อดีอย่างไร?

  • แยกความแตกต่างระหว่างเนื้อเยื่อต่างๆ ได้ชัดเจน ให้ผลที่มีความแม่นยำและถูกต้องสูง เป็นประโยชน์ต่อการวินิจฉัยโรค วางแผนการรักษา และติดตามผลการรักษา
  • สามารถทำการตรวจได้ทุกๆ ระนาบ โดยไม่ต้องขยับเคลื่อนย้ายหรือเปลี่ยนท่าผู้รับการตรวจ
  • ใช้ได้ดีกับส่วนที่ไม่ใช่กระดูก หรือก็คือเนื้อเยื่อส่วนต่างๆ เช่น สมอง ไขสันหลัง เส้นประสาท กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เป็นต้น
  • สามารถตรวจหาสิ่งผิดปกติในร่างกายได้ตั้งแต่ระยะแรกๆ
  • สามารถตรวจเส้นเลือดได้โดยไม่ต้องฉีดสารทึบรังสี ผู้ป่วยโรคไตวายจึงสามารถทำการตรวจได้ มีความปลอดภัยสูง รวมถึงมีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างต่ำ
  • สะดวกสบาย ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัว หลังตรวจสามารถกลับบ้านได้ทันที
  • ไม่ก่อให้เกิดอันตรายจากรังสีตกค้าง ทำให้สามารถตรวจในผู้ที่ตั้งครรภ์ช่วง 6 – 9 เดือนได้หากมีข้อบ่งชี้การตรวจที่เหมาะสม
  • ไม่สร้างความเจ็บปวดใดๆ ต่อผู้รับการตรวจ
  • ให้รายละเอียดได้ชัดเจนกว่าการตรวจด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan)
  • ใช้เวลาในการตรวจไม่นาน และได้ผลการตรวจที่ถูกต้องแม่นยำอย่างรวดเร็ว

MRI ต่างจาก CT SCAN อย่างไร?

MRI

การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า

Magnetic Resonance Imaging

ไม่ใช้รังสี X-ray ใช้วิธีการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้ารอบตัว ปัจจุบันยังไม่พบว่ามีผลกระทบกับสุขภาพ

เหมาะกับการตรวจเนื้อเยื่อ

ใช้เวลาตรวจนานกว่า

สารเพิ่มความชัดของภาพไม่มีไอโอดีนเป็นส่วนประกอบ ไม่เป็นพิษต่อไต มีโอกาสแพ้น้อยกว่า

ผู้ที่มีส่วนประกอบของโลหะฝังอยู่ในร่างกายควรหลีกเลี่ยงการตรวจ

CT SCAN

การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

Computerized Tomography

ใช้รังสี X-ray ปล่อยผ่านตัวผู้รับการตรวจ อาจส่งผลกระทบหากมีรังสีตกค้าง

เหมาะกับการตรวจกระดูก

ใช้เวลาตรวจสั้นมาก

ใช้สารทึบแสงที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน มีโอกาสทำให้เกิดพิษต่อไต

ตรวจผู้ที่มีโลหะในร่างกายได้ แต่ภาพอาจไม่คมชัด

ก่อนตรวจ MRI
ควรเตรียมตัว
อย่างไร

  1. ไม่มีการเตรียมตัวพิเศษอื่นใด ผู้รับการตรวจสามารถรับประทานอาหารและเครื่องดื่มได้ปกติ ( ยกเว้นกรณีตรวจอวัยวะในช่องท้องหรือตรวจระบบทางเดินน้ำดีต้องงดอาหารก่อนการตรวจอย่างน้อย 4 ชั่วโมง)
  2. หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า เนื่องจากเครื่องสำอางบางชนิดอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดสิ่งผิดปกติในภาพ
  3. ถอดสิ่งของที่เป็นโลหะออกให้เรียบร้อยก่อนการตรวจ เช่น กิ๊ฟหนีบผม ฟันปลอม เครื่องประดับ บัตรเครดิต นาฬิกา ปากกา กุญแจ เนื่องจากสิ่งของอาจได้รับความเสียหาย และส่งผลต่อความชัดเจนของภาพ
  4. หากมีส่วนประกอบของโลหะในร่างกาย เช่น อวัยวะเทียม เครื่องกระตุ้นหัวใจ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ
  5. เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อยก่อนเข้ารับการตรวจ เนื่องจากระหว่างการตรวจไม่ควรขยับเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อให้ได้ภาพที่ชัดเจน

การตรวจ MRI
มีข้อควรระวัง
อะไรบ้าง

  1. ผู้ที่มีอาการกลัวที่แคบ (Claustrophobic) ไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องได้รับยานอนหลับหรือยาสลบ ซึ่งต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมงก่อนการตรวจ
  2. ผู้ที่มีส่วนประกอบของโลหะฝังอยู่ในร่างกายควรหลีกเลี่ยงการตรวจ เช่น ลิ้นหัวใจเทียม ข้อเทียม คลิปอุดหลอดเลือด แผ่นดามกระดูก เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ
  3. ผู้ที่ฝังเครื่องมีทางการแพทย์เพื่อเตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัดสมอง ตา หรือหูควรหลีกเลี่ยงการตรวจ
  4. ผู้ที่เคยได้รับอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา และมีข้อสงสัยหรือมีความเสี่ยงที่โลหะอาจกระเด็นเข้าไปในดวงตา ควรหลีกเลี่ยงการตรวจ เนื่องจากการเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจส่งผลให้โลหะเคลื่อนที่ และเกิดอันตรายต่อดวงตาได้
  5. สตรีมีครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ 1 – 3 เดือนแรกควรหลีกเลี่ยงการตรวจ
  6. ไม่ควรนำเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่มีความไวต่อแม่เหล็กเข้าห้องตรวจ MRI เนื่องจากภายในห้องตรวจมีสนามแม่เหล็กแรงสูงตลอดเวลา อาจส่งผลต่อการทำงานของอุปกรณ์นั้นๆ ได้ เช่น บัตรที่ใช้แถบแม่เหล็ก อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ

ขั้นตอนการทำ MRI

  1. ผู้รับการตรวจเปลี่ยนเสื้อผ้าใส่ชุดของโรงพยาบาลที่จัดเตรียมไว้ให้
  2. ผู้รับการตรวจถอดสิ่งของที่เป็นโลหะ เช่น กิ๊บติดผม ฟันปลอม ต่างหู เครื่องประดับ
  3. ผู้รับการตรวจจะถูกพาไปที่เตียงตรวจ เจ้าหน้าที่จัดท่าทางให้นอนหงายซึ่งเตียงจะเลื่อนเข้า–ออก และปรับความสูงต่ำได้
  4. เจ้าหน้าที่นำเครื่องจับสัญญาณคลื่นแม่เหล็กมาวางบนร่างกาย
  5. เตียงจะถูกเลื่อนเข้าไปในอุโมงค์ของเครื่องซึ่งมีความกว้างประมาณ 60 เซนติเมตร เพื่อนำผู้รับการตรวจเข้าสู่ศูนย์กลางของสนามแม่เหล็ก
  6. ในขณะที่ทำการตรวจ ผู้รับการตรวจต้องนอนนิ่งๆ เพื่อจะทำให้ได้ภาพที่คมชัด ไม่สั่นไหว
  7. ขณะที่เครื่องทำงานผู้รับการตรวจจะได้ยินเสียงการทำงานของเครื่อง และอาจรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนเล็กน้อยระหว่างที่มีการถ่ายภาพ
  8. ระยะเวลาในการตรวจเฉลี่ยประมาณ 30 – 40 นาที หรืออาจนานกว่านั้น ขึ้นกับระบบอวัยวะที่ต้องการตรวจ

หลังตรวจ MRI
ควรดูแลตนเอง
อย่างไร

หลังตรวจ MRI ที่ไม่มีการฉีดสารทึบรังสี ผู้รับการตรวจสามารถรับประทานอาหาร และทำกิจวัตรอื่นๆ ได้ตามปกติ

 

 

BNH MRI Spine Screening โปรแกรมตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าส่วนกระดูกสันหลัง

รักษาโรคกระดูกสันหลังที่ BNH Spine Centre

BNH Spine Centre ศูนย์รวมการรักษาโรคกระดูกสันหลังที่ครบวงจรแห่งแรกในประเทศ ทันสมัยเพียบพร้อมด้วยทีมบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคกระดูกสันหลังโดยเฉพาะ ซึ่งล้วนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงการเป็นอย่างดีที่พร้อมให้คำปรึกษาและรักษาอย่างถูกวิธี ควบคู่กับการนำสุดยอดเทคโนโลยีล้ำสมัยมาใช้ในการรักษาเพื่อให้ได้ผลที่ถูกต้องแม่นยำและปลอดภัย

 ทีมแพทย์กระดูกสันหลังโรงพยาบาลบีเอ็นเอช 

นำโดย รศ.นพ.วิชาญ ยิ่งศักดิ์มงคล ศัลยแพทย์กระดูกสันหลังและผู้อำนวยการศูนย์ BNH Spine Centre ร่วมด้วยทีมแพทย์เฉพาะทางประจำศูนย์ แพทย์สหสาขาวิชาชีพ ร่วมกับเครื่องมือและเทคโนโลยีการรักษาโรคกระดูกสันหลัง ช่วยฟื้นฟูคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่คนไข้มาแล้วมากกว่า 1,000 ราย

ทีมแพทย์เฉพาะทางกระดูกสันหลังมากประสบการณ์ ที่ BNH SPINE CENTRE ร่วมด้วยทีมแพทย์สหสาขาวิชาชีพ ช่วยดูแลทั้งก่อนและหลังการผ่าผัด เพื่อความปลอดภัย และผลลัพธ์ของการรักษาที่ดี

  1. รศ. นพ. วิชาญ ยิ่งศักดิ์มงคล – ศัลยแพทย์กระดูกสันหลัง และผู้อำนวยการศูนย์ BNH Spine Centre
  2. นพ. ประเสริฐ เอี่ยมปรีชากุล – ศัลยแพทย์ระบบประสาทและกระดูกสันหลัง
  3. นพ. เอกปฏิภาณ เอี่ยมสกุลนนท์ – ศัลยแพทย์กระดูกสันหลัง
  4. นพ. อาทิตย์ หงส์วานิช – ศัลยแพทย์กระดูกสันหลัง
  5. ศ. พญ. สุปราณี นิรุตติศาสน์ – ศัลยแพทย์กระดูกสันหลัง
  6. นพ. วิวัฒน์ แสงเลิศศิลปชัย – อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์คาร์ดิโอเมทาบอลิก (BNH Cardiometabolic Centre)
  7. ผศ. นพ. พรเลิศ ฉัตรแก้ว – วิสัญญีแพทย์
  8. ผศ. พญ. พรพรรณ เฉลิมกิจพานิชย์ – วิสัญญีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญการบำบัดความปวด คลินิกระงับปวด (BNH Pain Clinic)
  9. รศ. พญ. กฤษณา พิรเวช – แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู แผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟูและกายภาพบำบัด (BNH Rehabilitation and Physical Therapy)

เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการรักษาโรคกระดูกสันหลัง

การผ่าตัดด้วยวิธีเปิดแผลขนาดเล็ก Minimal Access Spine Surgery (MASS):
เทคโนโลยีการผ่าตัดด้วยวิธีเปิดแผลขนาดเล็ก 1.6 – 2.0 ซ.ม.ผ่านท่อเข้าไปในกระดูกสันหลังเป็นการผ่าตัดด้วยเครื่องมือชนิดพิเศษ ร่วมกับการใช้วิธีส่องกล้อง ช่วยให้การผ่าตัดมีความแม่นยำสูง แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กมาก ลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อและเสียเลือด รวมถึงช่วยลดอาการเจ็บปวดภายหลังการผ่าตัด ที่สำคัญเป็นการช่วยลดเวลาในการพักฟื้น ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับสู่คุณภาพชีวิตที่ดีได้เร็วยิ่งขึ้น

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อกระดูกสันหลังเทียม Total Artificial Disc Replacement (TADR):
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อกระดูกสันหลังเทียมบริเวณบั้นเอวหรือต้นคอ ด้วยวัสดุที่ได้รับการออกแบบให้มีลักษณะใกล้เคียงกับข้อกระดูกสันหลังของมนุษย์ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนทั้งผิวของข้อกระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก ช่วยให้ข้อกระดูกสันหลังกลับมาเคลื่อนไหวได้ทุกระนาบในลักษณะที่ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด

การรักษาโรคกระดูกสันหลังยุบตัว Percutaneous Vertebroplasty/Kyphoplasty:
วิธีการรักษาผู้ป่วยสูงอายุที่มีปัญหากระดูกสันหลังยุบตัวจากสาเหตุกระดูกพรุนหรือจากเนื้องอกบริเวณกระดูกสันหลังด้วยการฉีด Bone Cement ผ่านทางผิวหนังโดยไม่ต้องผ่าตัดหรือดมยาสลบ เพราะเป็นการทำภายใต้การฉีดยาชาเฉพาะที่

คลีนิคบำบัดอาการปวด Pain Clinic

ให้บริการบำบัดอาการเจ็บปวดอันเนื่องมาจากปัญหาทางกระดูกสันหลังโดยไม่ต้องรับการผ่าตัดด้วยวิธีต่างๆ
• การบำบัดโดยการใช้ยาชา
• การทำกายภาพบำบัดเฉพาะจุด
• การฉีดยาเฉพาะจุดเส้นประสาท (Selective Nerve Block)
• การฝังเข็ม (Accupuncture)

มาตราฐานการรักษาที่ BNH Spine Centre

บริการครบวงจรโดยคณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางทุกสาขาที่เกี่ยวข้องกับกระดูกสันหลัง ได้แก่
• ศัลยแพทย์กระดูกสันหลัง และศัลยกรรมกระดูกและข้อ
• ศัลยแพทย์สมอง และระบบประสาท
• วิสัญญีแพทย์ และผู้เชี่ยวชาญการบำบัดความเจ็บปวด
• แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู
ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยเพื่อการวินิจฉัยที่แม่นยำและการรักษาที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องตลอดทุกกระบวนการรักษา

ท่านสามารถ Add LINE @MBRACE เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือนัดหมายผู้เชี่ยวชาญ หรือติดต่อศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลบีเอ็นเอช ชั้น 2

สอบถามกับเจ้าหน้าที่