- งดเดินทางไกล เนื่องจากเสี่ยงต่ออาการวิงเวียน แพ้ท้อง อ่อนเพลีย
- งดมีเพศสสัมพันธุ์ หากมีอาการแท้งคุกคาม หรือเลือดออกทางช่องคลอด
- ควรหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้คนที่เป็นโรคที่สามารถติดต่อกันได้ เช่น โรคอีสุกอีไส โรคหัดเยอรมัน เป็นต้น
- เฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนของการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
อาการแทรกซ้อนที่ควรมาพบแพทย์ ไตรมาสที่ 1
- คลื่นไส้อาเจียนมาก
- เลือดออกทางช่องคลอด อาจมีสาเหตุจาก แท้งบุตร , ตั้งครรภ์นอกมดลูก เกิดจากไข่ที่ฝังตัวและเจริญเติบโตนอกโพรงมดลูก , ตั้งครรภ์ไข่ปลาอุก
- ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรงหรือร่วมกับมีเลือดออกทางช่องคลอด
- ไข้สูง หรือสงสัยเป็นหัดเยอรมัน อีสุกอีไส
- สามารถออกกำลังกายง่าย เช่น การเดินเล่นรอบบ้าน ว่ายน้ำ โยคะสำหรับหญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น
- เพศสัมพันธุ์ ถ้าหากตั้งครรภ์ปกติ ไม่มีภาวะแทรกซ้อน การมีเพศสัมพันธุ์ ก็ไม่เป็นข้อห้าม แต่ควรระวังเรื่องของท่าในการมีเพศสัมพันธุ์ ไม่ควรใช้ท่าที่มีน้ำหนักกดทับมดลูกและไม่ควรรุนแรง
- การแต่งกาย ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าสบายๆ เปลี่ยนขนาดเสื้อชั้นในตามการขยายของเต้านม สวมรองเท้าส้นเตี้ย ไม่ควรสวมกางเกงที่รัดหน้าท้องจนเกินไป
อาการแทรกซ้อนที่ควรมาพบแพทย์ ไตรมาสที่ 2
- เลือดออกทางช่องคลอดหลังจากอายุครรภ์ 24 สัปดาห์ ซึ่งเกิดจากภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือรกเกาะต่ำ
- การเจ็บครรภ์โดยพบอาการบีบตัวของมดลูกหรือปวดท้องเป็นพักๆอย่างสม่ำเสมอ หรือมีน้ำใสๆไหลออกทางช่องคลอด
- ตกขาวมากขึ้น จับเป็นก้อนและมีอาการคัน
- ปัสสาวะบ่อยขึ้น ปัสสาวะแสบขัด อาจเป็นภาวะกระเพาะปัสสาวะอักเสบ
- ทารกดิ้นน้อยหรือไม่ดิ้น
- ท้องลดขนาดลงหรือน้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
- เวลานอนควรหนุนข้อเท้าด้วยผ้าขนหนูหรือหมอนใบเล็ก เพื่อลดบวม
- คุณแม่ควรเริ่มนับลูกดิ้นอย่างจริงจังตั้งแต่ 32 สัปดาห์ เพื่อเป็นการประเมินสุขภาพทารกเบื้องต้น
- อาหาร คุณแม่อาจทานได้ไม่มากเท่าเดิม เนื่องจากรู้สึกอึดอัด แน่นท้อง วิธีการแก้คือ เพิ่มมื้ออาหารเป็น 4-5 มื้อย่อยเล็กๆ ต่อวัน แล้วแต่ความสะดวก ทานแคลเซียม ช่วยในการพัฒนาระบบกระดูกและฟัน และช่วยในการลดการเกิดตะคริวในคุณแม่ ใยอาหาร ช่วยแก้ปัญหาเรื่องท้องผุก ร่วมกับการดื่มน้ำในปริมาณที่มากขึ้น ประมาณ 8-10 แก้ว/วัน
- ควรเลี่ยงอาหารที่มีรสหวานจัด หรือผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง
อาการแทรกซ้อนที่ควรมาพบแพทย์ ไตรมาสที่ 3
- บวมมากผิดปกติ : ตั้งแต่หลังเท้าถึงหน้าแข้งหรือร่วมกับปวดศรีษะรุนแรง , ตาพร่า , จุกแน่นลิ้นปี่ อาการเหล่านี้อาจสัมพัธ์กับภาวะครรภ์เป็นพิษ
- ลูกดิ้นน้อย : ปกติลูกดิ้นมากว่า 10 ครั้ง/วัน หากหลังอาหาร 1 ชั่วโมง ถ้านับแล้วไม่ถึง 4 ครั้ง ให้นับต่อไปอีก 4 ชั่วโมงถ้ายังไม่ถึง 4 ครั้ง หรือน้อยกว่า 10 ครั้ง/วัน ควรมาพบแพทย์
- เจ็บครรภ์ทุก 5-10 นาที สม่ำเสมอ
- มีมูกเลือดหรือน้ำเดิน