ซื้อรายการตรวจเพิ่มเติม
สัญญาณความเสื่อมของร่างกายมีอะไรบ้าง?
1. อ่อนเพลีย ไม่สดชื่น ไม่กระฉับกระเฉง ง่วงบ่อยๆ แม้พักผ่อนอย่างเต็มที่แล้ว
2. ทำพฤติกรรมเหมือนเดิม แต่เหนื่อยมากขึ้น ไม่แข็งแรงอย่างเคย
3. นอนหลับยาก
4. เจ็บออดๆ แอดๆ ปวดหัวบ่อย ปวดหลัง ปวดข้อ เส้นยึด
5. อ้วนง่าย แม้จะกินเท่าเดิม หรือออกกำลังกายแบบเดิม หรือแม้แต่ควบคุมน้ำหนักแล้วก็ตาม
6. สมาธิสั้นลง ตัดสินใจช้าลง ลืมง่าย
7. ความทนทานต่อสถานการณ์ที่กดดันมีน้อยลง
8. หงุดหงิดง่าย รวมไปถึงเกิดอารมณ์ซึมเศร้า ขี้กังวลมากขึ้น
9. ผมแห้ง ผมบาง ผมร่วง ผิวแห้ง ตาแห้ง ผิวพรรณไม่สดใส
10. ความตื่นตัวทางเพศลดลง
ความสำคัญของวิตามินดี
วิตามินดีจะมีหน้าที่หลักในการช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและป้องกันโรคกระดูกบาง (Osteopenia) และกระดูกพรุน (Osteoporosis)
วิตามินดีมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศ จึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการสำคัญต่างๆ ในร่างกาย เช่น ช่วยลดฮอร์โมนพาราไทรอยด์ (Parathyroid Hormone) ป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดและป้องกันโรคเบาหวาน
คนที่ขาดวิตามินดีมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มากกว่าคนทั่วไป และการเสริมวิตามินดีช่วยให้ร่างกายเผาผลาญน้ำตาล (Glucose Metabolism) ได้ดีขึ้น
วิตามินดียังมีความสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) และโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (Cardiovascular Diseases)
วิตามินดียังมีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Immune System) มีการค้นพบ Vitamin D Receptor หรือตัวรับที่จับกับวิตามินดีบน T cell และ B cell ซึ่งเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาคุกคามร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เซลล์มะเร็ง
ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนการให้วิตามินดีเสริมเพื่อช่วยต้านโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) มะเร็งเต้านม (Breast Cancer) และมะเร็งต่อมลูกหมาก (Prostate Cancer)
วิตามินดีช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนิน (Serotonin) มากขึ้น มีผลช่วยลดความเครียด (Stress) และภาวะซึมเศร้า (Depression)
วิตามินดีช่วยในการแบ่งเซลล์ (Cell Proliferation) และการพัฒนาเซลล์เพื่อไปทำหน้าที่ซ่อมแซมส่วนสึกหรอต่าง ๆ ช่วยชะลอวัยของผิว (Delay Skin Aging)
วิตามินดียังมีผลต่อประสิทธิภาพการออกกำลังกายและการเล่นกีฬา โดยเฉพาะการเล่นกีฬาที่มีความหนักและต่อเนื่องเป็นเวลานาน ที่เรียกว่า Endurance Sport เช่น การวิ่งระยะไกล (Long – Distance Running) การปั่นจักรยาน (Cycling) ไตรกีฬา (Triathlons)
ที่มา : bangkokhospital.com
ตรวจด้วยวิธีการเจาะเลือด
- Vitamin D (ระดับวิตามินดี)
- Calcium (ระดับแคลเซียม)
- hsCRP (การอักเสบแฝง ระดับน้ำตาลแฝง ค่าความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ และระดับภูมิคุ้มกัน)
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ป้องกันและฟื้นฟูสุขภาพ จะให้คำแนะนำในการดูแลรักษา
(นพ. ชวภณ กิจหิรัญกุล : Cardiometabolic Centre)
Cardiometabolic Centre
วันเวลาที่สามารถทำนัดได้
Day | Time | Location |
Monday | 08:00 – 16:00 | Cardiometabolic Centre |
Tuesday | 08:00 – 12:00 | Cardiometabolic Centre |
Wednesday | 08:00 – 16:00 | Cardiometabolic Centre |
Friday | 13:00 – 16:00 | Cardiometabolic Centre |
Sunday | 08:00 – 12:00 | Cardiometabolic Centre |
ถ้าให้ได้ผลดี แนะนำงดน้ำ งดอาหาร 8-12 ชม. ก่อนตรวจ
แพ็กเกจนี้รวมค่าแพทย์และค่าบริการโรงพยาบาลเรียบร้อยแล้ว
แพคเกจนี้ต้องงดน้ำงดอาหารล่วงหน้า อย่างน้อย 8-12 ชม.