- แนะนำให้ทานต่อเนื่องติดกันอย่างน้อย 3 เดือน กรณีมีคอเลสเตอรอลสูงมาเป็นเวลานาน แนะนําให้ทานต่อเนื่องจนกว่าผลตรวจค่าคอเลสเตอรอลในเลือดเป็นที่น่าพอใจ
- โดยจะต้องควบคู่กับการปรับพฤติกรรม ไม่ทานอาหารคอเลสเตอรอลสูง และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- รับประทานวันละ 1 แคปซูล หลังอาหารเช้า
- 1 กระปุกมี 30 เม็ด รับประทานได้ 1 เดือน
- สามารถทานคู่กับยาลดไขมันได้
- รับประทานวันละ 1 แคปซูล หลังอาหารเช้า
- 1 กระปุกมี 30 เม็ด รับประทานได้ 1 เดือน
1. Green Tea Extract Decaffeinated (สารสกัดจากชาเขียว)
*จากผลวิจัย ช่วยลดคอเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) และ ไตรกลีเซอไรด์
2. Lecithin (เลซิตินจากถั่วเหลือง)
*จากผลวิจัย เลซิตินที่ทำจากถั่วเหลืองช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ “ไม่ดี” (LDL Cholesterol) และยังอาจเพิ่ม HDL Cholesterol “ดี” ได้อีกด้วย
3. Tocotrienols (วิตามินอี)
*จากผลวิจัย ช่วยลดคอเลสเตอรอล ทั้งยังสามารถออกฤทธิ์ต่อต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ป้องกันโอกาสในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคสมองเสื่อม และยังช่วยป้องกันโอกาสในการเกิดโรคไขมันพอกตับอีกด้วย
*Reference
1. Green Tea Extract Decaffeinated https://nutritionj.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12937-020-00557-5
2. Lecithin https://www.webmd.com/diet/health-benefits-lecithin#1
3. Tocotrienol https://nutritionandmetabolism.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12986-018-0244-4
- เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน
เมื่อทราบว่าไขมันในเลือดสูง ควรปฏิบัติตัวดังนี้
1.ควบคุมอาหาร
- รับประทานอาหารครบส่วนทั้ง 5 หมู่
- หลีกเลี่ยงของทอด ผัดที่ใช้น้ำมัน รับประทานเป็นอาหารต้ม นึ่งซึ่งไม่ใช้น้ำมัน
- ถ้าใช้น้ำมันควรใช้น้ำมันพืช ที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูงเช่น น้ำมันถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน มะกอก ข้าวโพด รำข้าว เมล็ดดอกคำฝอย ส่วนน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว ควรเลี่ยงเนื่องจากจะทำให้ แอลดีแอลสูงทำให้หลอดเลือดตีบแข็งง่าย
- งดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมันและหนัง ถ้าจะรับประทานให้เอามันและหนังออกก่อน เครื่องในสัตว์ทุกชนิด ส่วนอาหารที่ควรหลีกลี่ยงหรือรับประทานนานๆครั้งได้แก่ อาหารทะเลพวกกุ้ง ปู ปลาหมึก ไข่แดง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น
- อาหารที่สามารถรับประทานได้เป็นประจำคือ เนื้อไม่ติดมันไม่ติดหนัง ไข่ขาว ปลา ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ
- ควรรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำทุกมื้ออาหารเนื่องจากลดการดูดซึมไขมันจากอาหารอื่นเข้าสู่ร่างกาย เพิ่มกากใยในอุจจาระทำให้ท้องไม่ผูก
2. ถ้าน้ำหนักเกินพิกัดควรลดน้ำหนัก
3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ออกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น
เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ กายบริหาร เป็นต้น โดยทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30-45 นาที ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถออกกำลังกายได้มากน้อยเพียงใด และออกกำลังกายชนิดใดจึงจะเหมาะสม
4.งดสูบบุหรี่ เพราะจะยิ่งทำให้หลอดเลือดอุดตันเพิ่มขึ้น
5. พยายามไม่อยู่นิ่งเฉย ไม่นั่ง ยืน นอน ตลอด ควรทำกิจกรรมต่างๆสม่ำเสมอ
6. ลดความเครียด
7. ถ้าคุมอาหาร ออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆแล้ว ยังไม่ได้ผล
แพทย์อาจให้รับประทานยาลดไขมัน ซึ่งมีหลายชนิด แพทย์จะพิจารณาจากลักษณะของไขมันที่สูงว่าผู้ป่วยควรรับประทานยาใด
8. ตรวจเช็คระดับไขมันในเลือดสูงเป็นระยะตามนัด
ขอบคุณข้อมูลจาก :
https://www.si.mahidol.ac.th/project/geriatrics/knowledge_article/knowledge_healthy_6_004.html
Cholesterolคอเลสเตอรอล
หลังจากตรวจสุขภาพประจำปี หลายท่านมักพบว่าผลตรวจนั้นมีค่าคอเลสเตอรอลสูงกว่ามาตรฐาน
โดยค่าปกติของคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ควรน้อยกว่า 200 mg/dl การที่ระดับคอเลสเตอรอลมีมากกว่าความต้องการของร่างกาย ทำให้เกิดภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคมากมาย อาทิ
- โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน
- สมองขาดเลือด
- อัมพฤกษ์
- อัมพาต
- โรคหัวใจขาดเลือด
- โรคหลอดเลือดแดงแข็ง
นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ การออกกำลังกาย ตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว
- แนะนำตัวช่วย Hilestto ไฮเลสโต
- 1 กระปุกมี 30 เม็ด รับประทานได้ 1 เดือน
- อย. เลขที่ 10-1-26958-5-0255
- วิธีบริโภค : รับประทานวันละ 1 แคปซูล หลังอาหารเช้า
ข้อควรระวัง :
เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน ผู้ที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อน
โดยมีส่วนประกอบสำคัญ
1. Green Tea Extract Decaffeinated (สารสกัดจากชาเขียว)
*จากผลวิจัย ช่วยลดคอเลสเตอรอล (LDL Cholesterol) และ ไตรกลีเซอไรด์
2. Lecithin (เลซิตินจากถั่วเหลือง)
*จากผลวิจัย เลซิตินที่ทำจากถั่วเหลืองช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ “ไม่ดี” (LDL Cholesterol) และยังอาจเพิ่ม HDL Cholesterol “ดี” ได้อีกด้วย
3. Tocotrienols (วิตามินอี)
*จากผลวิจัย ช่วยลดคอเลสเตอรอล ทั้งยังสามารถออกฤทธิ์ต่อต้านการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ป้องกันโอกาสในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด โรคสมองเสื่อม และยังช่วยป้องกันโอกาสในการเกิดโรคไขมันพอกตับอีกด้วย
*Reference
1. Green Tea Extract Decaffeinated https://nutritionj.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12937-020-00557-5
2. Lecithin https://www.webmd.com/diet/health-benefits-lecithin#1
3. Tocotrienol https://nutritionandmetabolism.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12986-018-0244-4
คอเลสเตอรอล คือไขมันชนิดหนึ่งที่พบได้ในส่วนของผนังเซลล์ทุกเซลล์ของคนเรา รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของ น้ำดีอีกด้วย ร่างกายของเราจะได้รับคอเลสเตอรอลทั้งจาก อาหารที่รับประทานเข้าไปจากภายนอกโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ จากสัตว์ที่มีกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่สูง แต่ตับของเรา ก็สามารถสังเคราะห์คอเลสเตอรอลขึ้นเองได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นคอเลสเตอรอลที่รับประทานเข้าไปมากเกินพอจึงกลายเป็นส่วนเกินของร่างกาย
คอเลสเตอรอล แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
- LDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลที่อันตรายเพราะจะเกาะตัวตามผนังของ หลอดเลือดแดง ซึ่งจะทำให้ควายืดหยุ่นเสียไป และเกิดหลอดเลือดตีบตันตามมา
- HDL Cholesterol เป็นคอเลสเตอรอลที่มีประโยชน์เพราะจะช่วยป้องกันการเกาะตัวของ LDL ที่ผนังของหลอดเลือดแดง ช่วยในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดตีบตันได้
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด
- ปัจจัยเสี่ยงที่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน การสูบบุหรี่ ความอ้วน การขาดการออกกำลังกาย และภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ
- ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ ผู้ชายที่อายุเกิน 45 ปี และผู้หญิงที่อายุ เกิน 55 ปี มีประวัติบุคคลในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจก่อนวัยอันควร
ผู้ที่มีคอเรสเตอรอลในเลือดสูงจะมีอาการหรือไม่ ?
ผู้ที่มีคอเลสเตอรอลในเลือดสูงจะไม่มีอาการใดๆ นอกจากจะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้น เช่น เจ็บแน่นหน้าอก ปวดน่องเวลาเดินหรืออัมพฤกษ์อัมพาต ซึ่งเป็นภาวะหลอดเลือด ในส่วนต่างๆ ตีบตัน
ใครที่มีความเสี่ยงที่จะมีคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ?
ได้แก่ ผู้ที่มีพฤติกรรมในการบริโภคอาหารไขมันในปริมาณสูงไม่รับประทานผักและผลไม้ ขาดการออกกำลังกาย ผู้ที่มีกรรมพันธุ์ของภาวะคอเรสเตอรอลในเลือดสูง และอายุที่มากขึ้น
เราจะทราบระดับของคอเลสเตอรอลในร่างกายได้อย่างไร ?
เราสามารถตรวจวัดระดับไขมันรวมทั้งคอเลสเตอรอลด้วยวิธีการตรวจเลือดโดยตรวจแยกชนิดของคอเลสเตอรอลและระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ผู้ที่จะรับการตรวจควรงดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 12 ชั่วโมง และควรงดแอลกอฮอล์ 72 ชั่วโมง
ค่าปกติของคอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ควรน้อยกว่า 200 mg/dl
* LDL Cholesterol:
– ผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือเบาหวาน ระดับ LDL ควรน้อยกว่า 100 mg/dl (ควรน้อยกว่า 70 mg/dl ใน ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง*)
– ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและเบาหวาน แต่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด** ตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป ระดับ LDL ควรน้อยกว่า 130 mg/dl
– ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและเบาหวาน แต่มีปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจขาดเลือด** น้อยกว่า 2 ข้อ ระดับ LDL ควรน้อยกว่า 160 mg/dl ไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ควรน้อยกว่า 150 mg/dl
* HDL Cholesterol ควรมากกว่า 40 mg/dl
* ผู้ที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้ป่วยที่เพิ่งเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, ผู้ที่เป็นโรคหัวใจและเบาหวาน,ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงได้หรือมีปัจจัยเสี่ยงที่รุนแรง, และผู้ที่มีภาวะ Metabolic syndrome (อ้วน + ไตรกลีเซอไรด์ สูง + HDL ต่ำ)