Premium Soy Protein โปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง
โปรตีนสกัดเข้มข้นให้กรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ปราศจากไขมัน น้ำตาล และโคเลสเตอรอล ไม่มีส่วนผสมของแลคโตส
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร: มีผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง
วิธีเตรียมและบริโภค:
1 ซอง (12 กรัม) ให้โปรตีน 10 g รับประทานครั้งละ 1 ซอง วันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น
โดยผสม…โปรตีน กับน้ำเย็น 100-120 มิลลิลิตร
และยังใช้ผสมกับอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ เช่น น้ำผลไม้ หรือนม
วิธีเก็บรักษา : เก็บในที่แห้งและเย็น
ขนาดบรรจุ : 1 แพค มี 30 ซอง
ประโยชน์ของถั่วเหลือง
ถั่วเหลือง [Glycine max (L.) Merr.] เป็นธัญพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เนื่องจากอุดมไปด้วยโปรตีน
นอกจากจะเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญแล้ว ในถั่วเหลืองยังพบสารกลุ่มไอโซฟลาโวน (Isoflavones) เช่น
เจนีสทีน (genistein) เดดซีน (daidzein) และไกลซิทีน (glycitein)
ซึ่งจัดเป็นสารจากพืชที่มีฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน (phytoestrogen) ฮอร์โมนที่มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการทำงานของระบบสืบพันธุ์เพศหญิง
สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มีข้อมูลระบุว่า
การบริโภคถั่วเหลืองมีผลช่วยลดอาการร้อนวูบวาบ (hot flashes) ในผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่มีระดับฮอร์โมนลดลงตามวัยลดระดับไขมันในเลือดและยังมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ มีผลช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มีผลต่อการเรียนรู้และจดจำ ช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น
สำหรับงานวิจัยเกี่ยวกับประโยชน์ของถั่วเหลืองต่อโรคมะเร็ง
มีข้อมูลระบุว่าการบริโภคถั่วเหลืองมีผลช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม และลดการแบ่งตัวของจำนวนเซลล์มะเร็งเต้านมได้ แต่ก็มีบางงานวิจัยระบุว่าถั่วเหลืองมีผลเพิ่มความรุนแรงของมะเร็งได้เช่นกัน นักวิจัยจึงยังคงทำการศึกษาทางคลินิกเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของการบริโภคถั่วเหลืองกับมะเร็งเต้านมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งและความรุนแรงของมะเร็งเต้านมอาจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรม ลักษณะการใช้ชีวิตประจำวัน การสูบบุหรี่ หรือการดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น
สำหรับการเตรียมถั่วเหลืองเพื่อรับประทานนั้น ควรเลือกวัตถุดิบที่สะอาดและมีคุณภาพ เพื่อให้ปลอดภัยจากสารพิษอะฟลาทอกซิน (aflatoxin) ที่พบได้มากในธัญพืชทั่วไป และเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งตับ นอกจากนี้ควรระมัดระวังในผู้บริโภคบางรายที่อาจเกิดอาการแพ้ถั่วเหลืองได้ สำหรับการบริโภคถั่วเหลืองเพื่อให้ได้ผลต่อการป้องกันหรือรักษาโรคมะเร็ง อาจต้องมีการศึกษาข้อมูลทางคลินิกเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์หลากหลายชนิดในปริมาณที่เหมาะสม ควบคู่กับการออกกำลังกาย นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด ก็เป็นวิธีปฏิบัติที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ลดอัตราเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ ได้
Reference: มหาวิทยาลัยมหิดล https://bit.ly/3D94NHp
สารอาหารสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ประกอบด้วย
1. โปรตีน ซึ่งจำเป็นในการเจริญเติบโตของอวัยวะของทารก เช่น สมอง และยังช่วยในการเจริญเติบโตของเต้านม และมดลูกขณะตั้งครรภ์ โดยขนาดแนะนำสำหรับหญิงตั้งครรภ์ 75-100 กรัม/วัน
2. แคลเซียมเป็นวิตามินที่จำเป็นในการสร้างของกระดูกและฟันของเด็ก ซึ่งขนาดที่ต้องการในหญิงตั้งครรภ์ คือ 1,000 มิลลิกรัม/วัน
3. เหล็ก มีบทบาทในการเพิ่มปริมาณของเลือดและป้องกันการเกิดภาวะซีด ขนาดที่แนะนำ คือ 27 มิลลิกรัม/วัน
4. folic acid ยังเป็นสารที่สำคัญในลดภาวะเสี่ยงต่อความผิดปกติของหลอดประสาท (neural tube defect) ดังนั้น หญิงตั้งครรภ์ควรรับประทาน 600-800 ไมโครกรัม/วัน
5. ผักและผลไม้เป็นแหล่งที่สำคัญของวิตามิน ซี ซึ่งช่วยในการรักษาแผล การพัฒนาของกระดูกและฟัน กระบวนการเผาผลาญ ซึ่งแนะนำให้รับประทานอย่างน้อย 85 มิลลิกรัม/วัน
Reference: มหาวิทยาลัยมหิดล https://bit.ly/3iYINqD