นอนไม่หลับ หรือหลับก็ไม่สนิท ตื่นมาไม่สดชื่น
แก้ได้ที่สมอง
คนวัยทำงานโดยเฉพาะระดับผู้บริหารส่วนมากมักจะเจอกับปัญหานอนไม่หลับ หรือหลับก็ไม่สนิท ตื่นมาไม่สดชื่น เพลียระหว่างวัน บ้างก็แก้ปัญหาด้วยการทานยานอนหลับ อาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายทางไปสักหน่อย แต่อย่างน้อยก็พอช่วยให้ได้ร่างกายได้พักผ่อนบ้าง แต่รู้หรือไม่ว่าสาเหตุหลัก ๆ ของการนอนไม่หลับหรือหลับไม่สนิทนั้นเกิดจาก “อาการสมองเหนื่อยล้า” (Brain Fatique) ที่กิดขึ้นโดยไม่รู้ตัว
สมองเหนื่อยล้า ได้อย่างไร?
แค่ลืมตาตื่นขึ้นมาเริ่มต้นวันใหม่ สมองก็เริ่มทำงานทันที อันที่จริงสมองคนเราทำงานตลอด 24 ชั่วโมงแม้กระทั่งยามหลับ ไม่ว่าจะเป็นภาพที่เห็น เสียงที่ได้ยิน กลิ่นที่ได้รับ หรือความรู้สึกต่าง ๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจที่ได้พบเจอระหว่างวันล้วนเกิดจากการสั่งการของสมองทั้งสิ้น หากลองรวบรวมความรู้สึกหรือกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นในวันหนึ่ง ๆ ลงในหน้ากระดาษ คุณอาจจะได้ลิสต์ที่ยาวเป็นหางว่าวเลยก็เป็นได้ ดังนั้นการที่สมองเราเหนื่อยล้าก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่าเรารู้ตัวและจัดการกับความเหนื่อยล้าของสมองได้หรือไม่ หากยังคงจัดการไม่ได้และปล่อยให้เรื้อรังต่อไปจนกลายเป็นความเคยชิน ก็อาจทำให้ต้องเจอกับปัญหาการนอนหลับอยู่เรื่อยและส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว
จะรู้ได้อย่างไรว่าสมองเหนื่อยล้า?
เวลาที่สมองเหนื่อยล้า จะมีอาการที่แสดงออกได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท มีความวิตกกังวลตลอดเวลา อารมณ์แปรปรวน รู้สึกเหนื่อยล้าทั้งๆที่ยังไม่ได้ทำอะไร ทานอะไรก็ไม่อร่อย ความจำสั้นหรือจำได้ไม่ดี ไม่สามารถคิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สมองไม่แล่น) รู้สึกหดหู่ หมดหวัง เป็นต้น
นอกจากอาการที่กล่าวมานี้ความเครียดยังเป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อการนอนหลับเช่นเดียวกันยิ่งไปกว่านั้นความเครียดทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลงและทำให้สมองเกิดความเหนื่อยล้าซึ่งภาวะสมองเหนื่อยล้านี้เองที่เป็นประตูเปิดเข้าไปในโลกของโรคอัลไซเมอร์โรคพาร์กินสันโรคหัวใจโรคซึมเศร้าหรือโรคมะเร็งได้อีกด้วยที่น่าเป็นห่วงคือปัจจุบันมีคนจำนวนมากมายที่กำลังเผชิญกับอาการสมองเหนื่อยล้าแต่ไม่รู้ตัว
แก้ปัญหาการนอนหลับที่ “สมอง”
การแก้ปัญหาให้ได้ผลอย่างยั่งยืนจำเป็นจะต้องหาสาเหตุให้พบและแก้ให้ตรงจุดหลายครั้งที่เมื่อลองปรับเปลี่ยนสิ่งของเครื่องใช้หรือสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการพักผ่อนนอนหลับแล้วแต่ยังแก้ปัญหาไม่ได้การบำบัดความเครียดและการบำบัดความเหนื่อยล้าของสมองอาจจะเป็นการแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุดในกรณีนี้ก็เป็นได้
1. บำบัดความเหนื่อยล้าของสมอง (Brain Fatigue) และฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์สมอง
ในประเทศญี่ปุ่นมีทีมนักวิจัยที่ค้นคว้านวัตกรรมบำบัดอาการสมองเหนื่อยล้าเพื่อเหลือช่วยคนวัยทำงานที่มักจะพักผ่อนน้อย ทำงานเยอะ แบกรับความเครียดตลอดเวลา งานวิจัยค้นคว้าดำเนินไปอย่างยาวนานกว่า 15 ปี โดยนายแพทย์ ทาเคฮิโกะ ฟูจิโนะ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แห่งมหาวิทยาลัยคิวชู ประเทศญี่ปุ่น และทีม จนพบว่า BOOCS หรือ BRAIN ORIENTED ONESELF CARE SYSTEM สามารถช่วยลดความเหนื่อยล้าของสมองได้ ซึ่งปัจจุบัน BOOCS ได้รับการยอมรับไปทั่วโลก
BOOCS คือ รูปแบบการดูแลและให้คำปรึกษาเพื่อช่วยบำบัดความเหนื่อยล้าของสมอง ผ่อนคลายความเครียด ฟื้นฟูประสิทธิภาพการทำงานของเซลล์สมอง รวมไปถึงป้องกันและรักษาโรคอัลไซเมอร์ด้วย โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 (5 Sensory Stimulation) มาบำบัดเพื่อผ่อนคลายความเครียดช่วยในเรื่องการนอนหลับและลดความเสี่ยงในการก่อให้เกิดโรคอัลไซเมอร์
2. เพิ่มพลาสมาโลเจนให้กับร่างกาย
พลาสมาโลเจน (Plasmalogen) เป็นสารที่พบเห็นโดยทั่วไปในโครงสร้างของสัตว์ต่างๆ โดยพบมากในเซลล์ประสาทสมองของมนุษย์ มีบทบาทสำคัญในกระบวนการสื่อสารของเซลล์และป้องกันการอักเสบ จากการศึกษาพบว่า ระดับพลาสมาโลเจนที่ลดลงนั้นสัมพันธ์กับความเสื่อมของระบบประสาท ทำให้เกิดความเหนื่อยล้าของสมองและก่อให้เกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอัลไซเมอร์ โรคพาร์กินสัน โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง และโรคซึมเศร้า เป็นต้น นอกจากนี้การที่อายุเพิ่มมากขึ้น ความเครียด หรือแม้แต่การเป็นหวัด ล้วนส่งผลให้ระดับพลาสมาโลเจนในร่างกายลดลง
และผลการศึกษาได้ยืนยันแล้วว่าการเพิ่มระดับของพลาสมาโลเจนและ DHA ช่วยให้อาการดีขึ้นในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จึงประมาณการได้ว่า พลาสมาโลเจนมีผลช่วยลดการอักเสบของเซลล์และเป็นอาหารสมองสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการป้องกันอาการหลงลืมหรือผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องการนอนหลับให้สมองได้พักผ่อนเพียงพออีกด้วย นอกจากนั้นผลวิจัยของนายแพทย์ฟูจิโนะ ยังพบอีกว่าพลาสมาโลเจนจากหอยเชลล์นั้นให้ผลลัพธ์ในการฟื้นฟูเซลล์สมองได้มากที่สุดอีกด้วย
การนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ หากเป็นเพียงระยะสั้นๆ อาจไม่กระทบต่อสุขภาพมากมายเท่าไหร่นัก แต่หากเกิดขึ้นบ่อยและเรื้อรัง จะทำให้สุขภาพย่ำแย่ลงในระยะยาว ดังนั้นหากเราสามารถดูแลสุขภาพแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่วัยทำงาน จะช่วยลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ โรคพากินสัน โรคทางสมองและระบบประสาท เมื่ออายุมากขึ้นได้
ปัจจุบันโรงพยาบาลบีเอ็นเอช เป็นโรงพยาบาลแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ได้รับการสนับสนุนจาก BOOCS Medical Group ประเทศญี่ปุ่น ให้จัดตั้งคลีนิค BOOCS@BNH เพื่อให้บริการปรึกษาเกี่ยวกับภาวะสมองเสื่อม ภาวะความเครียด อาการนอนไม่หลับ และการรับประทานอาหารเสริมพลาสมาโลเจน โดยผู้เชี่ยวชาญ BOOCS Counsellor ที่ผ่านการอบรมและมี License รับรองจากประเทศญี่ปุ่นนอกจากนั้นโรงพยาบาลบีเอ็นเอชยังเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในประเทศไทยที่นำเข้าผลิตภัณฑ์เสริมอาหารพลาสมาโลเจนจากหอยเชลล์และผ่านการพิจารณาการจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากระทรวงสาธารณสุขอย่างถูกต้องเรียบร้อยแล้ว